วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความสำคัญของพระพุทธศาสนา



สาระสำคัญ
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เกิดขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ทุกชั้นวรรณะ โดยมุ่งเน้นถึงกลุ่มคนที่มีความวุ่นวายหรือมีความทุกข์ เพื่อดับตัณหาความยากของมนุษย์อันเป็นต้นเหตุความทุกข์ พระพุทธศาสนามีวิธีการแห่งหลักธรรมคำสอนที่เป็นจุดแห่งความคิดมากมาย โดยอาศัยความศรัทธาเป็นพื้นฐานและมีปัญหาเป็นผลที่เกิดตามมา

ความสำคัญของพระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนามีความสำคัญมากมายหลายประเด็นมีหลักคำสอนสำหรับพัฒนาบุคคลให้บรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุดแห่งชีวิตบนพื้นฐานของเหตุผลและความถูกต้อง ท่านได้กำหนดข้อปฏิบัติในการฝึกฝน

อบรมตน ด้วยการให้ละความชั่ว ประพฤติแต่ความดี และทำจิตใจของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส ซึ่งในขั้นตอนของการพัฒนาตนนั้น ต้องเริ่มต้นด้วยมีศรัทธา คือมีความเชื่อที่ถูกต้องในหลักเหตุและผลโดยอาศัยปัญญาเข้าไปกำกับทุกขั้นตอนของการปฏิบัติ แต่การที่คนเราจะมีปัญญาได้นั้น ตนเองก็ต้องรู้จักคิด รู้จักอบรมปัญญาให้เกิดขึ้น ด้วยการฟังจากบุคคลอื่นบ้าง จากการอ่านตำราบ้าง จากการคิดค้นด้วยตนเองบ้าง จากการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมทั่วไปบ้าง จากประสบการณ์ต่างๆ บ้าง เมื่อคนเรามีปัญญาความรอบรู้แล้ว จะสามารถใช้เป็นประทีปส่องทางไปสู่ความสำเร็จทั้งในด้านหน้าที่การงาน และการดำเนินชีวิตประจำวัน และยังสามารถที่จะพัฒนาจิตใจตนเองให้เข้าถึงความมีอิสรภาพอย่างแท้จริงอีกด้วย กล่าวคือ ทำให้จิตหลุดพ้นจากการครอบงำของกิเลสและความทุกข์ทั้งปวงได้


๑. พระพุทธศาสนาเน้นการพัฒนาศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง


. การพัฒนาศรัทธา

คำว่า ศรัทธา แปลว่า ความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ หมายถึง ความเชื่อในสิ่งที่ดีงามที่มีเหลุผลและผลไม่ใช่เชื่ออย่างงมงายโดยปราศจากการพิจารณาไตร่ตรองด้วยสติปัญญาของตนเอง

ตัวอย่างของความมีศรัทธา คือ ท่านอุลาลีคหบดี ผู้เคยเลื่อมใสนิครนถนาฏบุตร มาก่อน ได้หันมาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาโดยแสดงตนเป็นอุบาสกนับถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งตลอดชีวิตตามที่ปรากฏในอุปาลีวาทสูตร ว่า

พระพุทธองค์ได้ตรัสตักเตือนอุบาลีคฤหบดีให้พิจารณาด้วยสติปัญญาเสียก่อน เพราะเมื่อได้พิจารณาให้รอบคอบแล้ว จึงค่อยลงมือทำเป็นการดีโดยพระพุทธองค์ทรงตักเตือนให้ถวายบิณฑบาตแก่พวกนิครนถ์ที่มาสู่เรือนของตนไปตามปกติ เพราะตระกูลของท่านอุบาลีเป็นตระกูลใหญ่ที่คนรู้จักมากเป็นเสมือนท่าน้ำสำหรับอาบ และดื่มกินของพวกนิครนถ์ทั้งหลายมาช้านานแล้ว

ฝ่ายท่านอุบาลีคฤหบดี เมื่อได้ยินดังนั้น ก็ได้กราบทูลแสดงความเชื่อมั่นและเลื่อมใสในพระพุทธองค์ยิ่งขึ้น เพราะเมื่อก่อนนี้เคยได้ยินจากบุคคลอื่นที่กล่าวว่า พระสมณโคดมได้ชักชวนผู้คนให้ถวายทานแด่พระองค์ และพระสาวกเท่านั้นไม่ควรให้ทานแก่ผู้อื่น เพราะทานที่ถวายแด่พระองค์และพระสาวกเท่านั้นมีผลมากส่วนทานที่ให้แก่ผู้อื่นไม่มีผลเลย แต่ตามความเป็นจริงที่ปรากฏชัดก็ คือ พระพุทธองค์ได้ตรัสสอนให้ทำทานแก่พวกนิครนถ์และคนอื่นๆ ทั่วไปด้วย เพราะทานนั้นย่อมมีอานิสงส์แก่ผู้กระทำเหมือนๆ กัน

จากเรื่องนี้ ย่อมเป็นการแสดงให้เห็นว่าพระพุทธศาสนาได้เปิดกว้างแก่บุคคลทุกชั้นวรรณะ โดยให้อิสรภาพและเสรีภาพในการตัดสินใจ คือ ให้ทุกคนพิจารณาด้วยปัญญาในสิ่งที่ปรากฏอยู่เฉพาะหน้าให้ดีเสียก่อน แล้วจึงค่อยตัดสินใจกระทำลงไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหลักของการพัฒนาศรัทธา คือ ความเชื่อถือในสิ่งใดสิ่งหนึ่งหลักของการพัฒนาศรัทธา คือ ความเชื่อถือในสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้นจะต้องประกอบด้วยเหตุผลและมีสติปัญญาเข้าไปกำกับด้วย

ในหลักของความเชื่อนั้น พระพุทธองค์ทรงแสดงหลักไว้ในเกสปุตตสูตร ซึ่งบางทีเรียกว่า

กาลามสูตร ตามชื่อหมู่บ้านของชาวกาลามชน นับว่าเป็นหลักความเชื่อที่ชาวพุทธทุกคนในยุคปัจจุบันนี้ควรให้ความสนใจศึกษาและนำมาใช้เป็นแนวทางเพื่อตัดสินปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับความเชื่อถือว่าผิดถูกอย่างไร

เมื่อสรุปความในพระพุทธโอวาทที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้แล้ว ผู้ศึกษาก็จะพบว่าพระพุทธองค์ทรงกำหนดหลักเกณฑ์ตัดสินว่าสิ่งใดควรจะเชื่อ สิ่งใดไม่ควรจะเชื่อไหว้ ๓ ประการ

. ทรงให้พิจารณาด้วยสติปัญญาให้เห็นแจ้งประจักษ์ด้วยตนเองก่อน

. ทรงให้อาศัยความเห็นของปราชญ์บัณฑิตเข้าประกอบด้วย

. ทรงให้คำนึงถึงผลของการปฏิบัติว่าจะเกิดคุณหรือโทษ จะให้ความสุขหรือให้ความทุกข์ ถ้าเกิดผลไม่ดีก็ควรละเสีย แต่ถ้าเกิดผลดีก็ควรปฏิบัติต่อไป

อย่างไรก็ตาม พระพุทธศาสนาได้ชื่อว่าเป็นศาสนาแห่งเหตุผล ย่อมสอนให้พุทธศาสนิกชนมิให้เชื่ออะไรง่ายๆ และไม่ให้เชื่ออะไรอย่างงมงาย พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนให้ชาวพุทธรู้จักสร้างสรรค์และพัฒนาศรัทธาที่ถูกต้องให้เกิดขึ้นในตนก่อน เพราะผู้ที่มีศรัทธาที่ได้รับการพัฒนาดีแล้ว ย่อมจะเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ และเชื่ออย่างมีเหตุผล สามารถจะนำไปสู่ความสำเร็จได้ในทุกๆ เรื่อง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น