วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สิทธิมนุษยชน

  สิทธิมนุษยชน
ความหมายของสิทธิมนุษยชน

       สิทธิมนุษยชนหมายถึง ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคที่ต้องได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ เป็นมาตรฐานขั้นต่าที่พึงมี เป็นสิ่งจาเป็นในการดารงชีวิตของมนุษย์อย่างมีศักดิ์ศรีและมีคุณค่า เป็นสิทธิที่ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศโดยไม่คานึงถึงความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ สีผิว เพศ อายุ ภาษา ศาสนา สถานภาพทางกายและสุขภาพ รวมทั้งความเชื่อทางการเมืองหรือความเชื่ออื่น ๆ ที่ขึ้นกับพื้นฐานทางสังคม สิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่ไม่สามารถถ่ายทอดหรือโอนให้แก่ผู้อื่นได้ หากมีการล่วงละเมิดต่อสิทธิมนุษยชนย่อมจะได้รับการรับรองและคุ้มครองจากกฎหมาย เช่น สิทธิในชีวิตร่างกาย และความมั่นคงปลอดภัย สิทธิในการถือครองทรัพย์สิน ตลอดจนสิทธิในการเคลื่อนไหวและในการเลือกถิ่นที่อยู่อาศัย เป็นต้น นอกจากนี้สิทธิมนุษยชนยังหมายถึง สิทธิที่พึงมีเพื่อการพัฒนาบุคลิกภาพ คุณภาพชีวิต เพื่อธารงรักษาไว้ซึ่งคุณค่าของความเป็นมนุษย์ เช่น สิทธิในการเลือกนับถือศาสนา สิทธิในการเลือกที่จะประกอบอาชีพ สิทธิในการแสดงความคิดเห็น ตลอดจนสิทธิในการมีส่วนร่วมในทางการเมือง เป็นต้น สิทธิมนุษยชนจึงประกอบไปด้วยสิทธิต่าง ๆ ครอบคลุม126

วิถีชีวิตของมนุษย์ทุกคนตั้งแต่เกิดจนตาย สิทธิที่ต้องการคุ้มครอง คือ การคุ้มครองบุคคลมีสิทธิในการดารงชีวิต ในเสรีภาพและในความมั่นคงแห่งร่างกาย


คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

         คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นองค์กรอิสระที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย เกิดจากแรงผลักดันและความเรียกร้องของประชาชน ที่มุ่งหวังให้มีกลไกอิสระทาหน้าที่ส่งเสริม คุ้มครองและพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของประชาชนให้มีผลปรากฏตามที่มีการบัญญัติรับรองสิทธิ เสรีภาพไว้ การร่างกฎหมายที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับประชาชนนั้น ต้องมีการทาประชาพิจารณ์ทั่วประเทศ ในขณะที่ภาคประชาชนก็ตื่นตัวมีส่วนร่วมจัดเวทีศึกษาแลกเปลี่ยนบทเรียนกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

ความสำคัญของสิทธิมนุษยชน

 สำหรับสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยนั้น ได้มีการบัญญัติกฎหมายว่าด้วยสิทธิมนุษยชนขึ้นมาใช้เพื่อปกป้อง คุ้มครอง สิทธิของพลเมืองภายใต้กระแสของความเจริญทางเศรษฐกิจ และสังคมเพื่อมิให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งถูกละเมิด โดยกาหนดให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีอานาจหน้าที่ในการตรวจสอบ และรายงานการกระทาอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนพร้อมกับแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม ในขณะเดียวกันต้องส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ส่งเสริมการศึกษา วิจัยและเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน

สิทธิมนุษยชนมีความสาคัญในฐานะที่เป็นหลักในการวางระบบความคิดให้ประชาชนรู้และตระหนักถึงคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ยอมรับความเป็นมนุษย์ ศักดิ์ศรี ชาติกาเนิด สิทธิขั้นพื้นฐานของการดารงชีพตั้งแต่เกิดจนตาย สิทธิมนุษยชนเป็นหลักประกันความเป็นมนุษย์ในเรื่องสิทธิ เสรีภาพ 127
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้ได้ผลอย่างเต็มที่ ต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชนทุกคน โดยการปฏิบัติต่อกันอย่างมีมนุษยธรรม หมายถึง การให้ความเคารพในเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ การดารงชีวิตร่วมกันอย่างสมานฉันท์ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ดังนั้น สิทธิมนุษยชนจึงประกอบด้วยสิทธิในการดารงชีวิตที่ดีในสังคม ดังนี้

1. สิทธิในชีวิต เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลทั่วไปที่สามารถดารงชีวิตอยู่ได้ ได้รับ
การตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน เช่น ความจาเป็นในปัจจัย 4 ได้แก่ อาหาร ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย และเครื่องนุ่งห่ม และต้องได้รับความคุ้มครองในสิทธิส่วนบุคคล เช่น การให้ความช่วยเหลือเมื่อชราเพื่อให้สามารถดารงชีพได้อย่างปกติ หรือการให้ความช่วยเหลือเป็นพิเศษสาหรับผู้พิการ คนชรา บุคคลไร้ที่อยู่ วิกลจริต เป็นต้น เพื่อให้ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน
2. สิทธิในการดาเนินชีวิตและพัฒนาตนเองตามแนวทางที่ถูกต้อง รัฐต้องเปิดโอกาส
กับทุกคนที่มีความประสงค์จะพัฒนาตนเองในแนวทางที่ถูกต้อง เช่น การพัฒนาตนเองให้มีการศึกษาตามฐานะอันควร การพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง รวมทั้งต้องให้โอกาสแก่บุคคลบางกลุ่มที่เคยกระทาผิดเพื่อที่จะได้อบรมแก้ไขให้ชีวิตมีคุณภาพที่สูงขึ้น 128
3. สิทธิในการยอมรับนับถือ หมายถึง การที่บุคคลได้ปฏิบัติต่อกันด้วยการยอมรับ
นับถือในเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ซึ่งกันและกัน และตระหนักว่าชีวิตมนุษย์ทุกคนมีความเสมอภาค โดยไม่คานึงถึงฐานะทางเศรษฐกิจ สภาพสังคม การศึกษา ตาแหน่งหน้าที่การงาน เพียงคานึงว่าทุกคนต่างมีคุณค่าของการเป็นมนุษย์ทั้งสิ้น เมื่อได้มาอยู่ร่วมกันในสังคมก็จะได้รับการยอมรับซึ่งกันและกันทั้งในด้านการแสดงความคิดเห็น การร่วมมือพัฒนาท้องถิ่น การทาประชาพิจารณ์ ฯลฯ โดยต้องไม่มีการเลือกปฏิบัติ

สิทธิมนุษยชน : ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หมายถึง เกียรติภูมิที่ทุกคนมีเพราะเกิดมาเป็นมนุษย์ ทุกคนต้องเคารพกันและกัน ห้ามดูหมิ่น ลบหลู่ ทาให้เสื่อมเสียความเป็นมนุษย์ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นสิทธิอย่างหนึ่งที่รับรองคุ้มครองให้แก่บุคคลตามกฎหมาย 129ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หมายถึง สภาพความเป็นคน โดยไม่คานึงถึงความแตกต่างเรื่องถิ่นกาเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สถานภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมือง การที่ผู้ใดไม่ได้รับ หรือทาให้ผู้ใดไม่มีสิทธิและเสรีภาพที่พึงมีพึงได้ เช่น การทาร้าย กักขัง ทรมาน การซื้อขาย หรือการไม่ได้รับปัจจัยที่จาเป็นขั้นพื้นฐานในชีวิต เช่น การทางาน อาหาร ที่อยู่อาศัย การดูแลสุขภาพ การศึกษา วัฒนธรรม ถือว่าเป็นการทาลายสภาพความเป็นคน หรือทาลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ในส่วนของรัฐธรรมนูญต่างประเทศก็ได้บัญญัติเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไว้เช่นกัน 130
การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ย่อมต้องมีการคุ้มครองภายในขอบเขต หากมีการล้าขอบเขตแห่งการคุ้มครองจึงจะเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ดังนั้น การอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จึงอ้างได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ของบุคคลหนึ่งย่อมมีขอบเขตอยู่ที่ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลอื่น 131

หลักการพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน

1. หลักเสรีภาพ ได้แก่เสรีภาพในความเป็นส่วนตัว สามารถที่จะดาเนินชีวิตได้อย่างอิสระจากกลุ่มบุคคล สมาคมหรือองค์กรอื่นใด เสรีภาพในร่างกาย หมายถึงบุคคลใดที่ถูกจับกุม คุมขังหรือถูกลงโทษย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย เสรีภาพในทางการเมือง หมายถึง บุคคลย่อมมีอิสระที่จะแสดงความคิดเห็นทางการเมืองและมีส่วนร่วมทางการเมืองได้อย่างอิสระ เสรีภาพในการนับถือศาสนา บุคคลจะเลือกนับถือศาสนาใดก็ได้ตามความสมัครใจ
2. หลักความเสมอภาค เป็นความเสมอภาคหรือความเท่าเทียมกันในความเป็นมนุษย์ ได้แก่
2.1 ความเสมอภาคตามกฎหมาย เช่น การมีส่วนร่วมในการทาประชาพิจารณากฎหมาย ความเท่าเทียมกันในการบังคับใช้กฎหมาย ความเท่าเทียมกันในการได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย เป็นต้น
2.2 ความเสมอภาคทางสังคม เช่น การได้รับความเคารพนับถือจากเพื่อนมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน เป็นต้น
2.3 ความเสมอภาคในการทางาน เช่น ความเท่าเทียมกันในการได้รับการปฏิบัติจากรัฐ ความเสมอภาคด้านแรงงาน การได้รับการเลื่อนขั้นเลื่อนตาแหน่ง เป็นต้น
2.4 ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ เช่น การเสียภาษีอย่างเป็นธรรม การดาเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรม เป็นต้น
3. หลักภราดรภาพ ได้แก่ การอยู่ร่วมกันกับบุคคลอื่นอย่างสันติสุขฉันพี่น้อง ในสังคม มีการช่วยเหลือเกื้อกูลโดยไม่มีการแบ่งแยกชนชั้น เชื้อชาติ ศาสนา เพศ วัยและทุกคนมีความรับผิดชอบร่วมกัน
4. หลักความยุติธรรม ได้แก่การมีความยุติธรรมที่บุคคลในสังคมพึงได้รับเท่าเทียมกันทุกคนจากการปฏิบัติต่อกันจากเพื่อนมนุษย์ จากเจ้าหน้าที่ของรัฐ จากกฎหมายหรือบุคคลอื่นใด เพราะความยุติธรรมเป็นเครื่องอานวยความสะดวกในการที่จะให้บุคคลพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดังนั้น สิทธิมนุษยชนจึงมีความสาคัญต่อการดารงชีวิตร่วมกับผู้อื่นบนพื้นฐานของหลักเสรีภาพ หลักความเสมอภาค หลักภราดรภาพและหลักยุติธรรม





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น