วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความรักชาติ



การเคารพชาติ,ศาสนา,พระมหากษัตริย์

ชาติคือสิ่งที่ทุกคนต้องรักและเทิดทูน เพราะเป็นสิ่งซึ่งแสดงถึงความเป็นเอกราช เป็นอิสระ
และความปลอดภัยในชีวิต ทุกคนจึงรักและหวงแหนชาติของตน คนไทยรับรู้เรื่องชาติของ
เราได้จากประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี สัญลักษณ์อีกอย่างที่สำคัญ
ของชาติ คือ ธงชาติ ธงชาติเปรียบเสมือนเป็นตัวแทนของชาติในการติดต่อกับประเทศอื่น ๆ
การร้องเพลงชาติก็เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความยึดมั่น ความผูกพัน ความภาคภูมิใจที่มี
ต่อประเทศชาติของตน

การเคารพชาติและธงชาติ
คนไทยแสดงความเคารพธงชาติด้วยการยืนตรง เมื่อได้ยินเสียงเพลงชาติและ พูดถึงชาติใน
ลักษณะที่ยกย่องไม่ลบหลู่ดูหมิ่นชาติของตน

ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชาติ ศาสนาสอนให้คนเป็นคนดีมี ศีลธรรม
มีเมตตาต่อกันทุกคนควรให้ความคารวะซาบซึ้งในพระธรรมคำสั่งสอน เพราะชาติใดไม่มี
ศาสนา ชาตินั้นจะถูกทำลายได้ง่ายศาสนาจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการช่วยชาติให้
อยู่รอดปลอดภัย
มารยาทในการแสดงความเคารพศาสนาทำได้ดังนี้
๑. ทำบุญตักบาตรตามกำลังความสามารถ โดยเฉพาะในวันสำคัญทางศาสนา
๒. เมื่อเข้าในโบสถ์วิหาร ต้องถอดรองเท้า และนั่งสำรวมไม่พูดคุยเสียงดัง
๓. เห็นพระพุทธรูปในวัด ควรทำความเคารพด้วยการไหว้หรือกราบ
๔. เห็นพระภิกษุ สามเณร ควรจะเคารพ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่น
๕. เวลาพระเทศน์ ควรตั้งใจฟังอย่างสำรวม
๖. ควรสวดมนต์ได้บ้าง
๗. กราบพระก่อนนอนทุกคืน พร้อมระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
การแสดงความเคารพต่อพระภิกษุ พระพุทธรูป หรือพระรัตนตรัย ตามประเพณีนิยมแล้ว
มีเพียงแบบเดียวคือ กราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ เว้นแต่สถานที่นั้นไม่ควรแก่การกราบ
เช่น ที่พื้นในยานพาหนะ
การแสดงความเคารพ ปฎิบัติได้ดังนี้
๑. การไหว้ ในกรณีเช่นนี้จะต้องไหว้ในลักษณะนอบน้อม นิ้วหัวแม่มือจรดหน้าผาก
๒. การหมอบกราบ ทำดังนี้
๑) หมอบเก็บเท้า
๒) มือประณมตั้งบนพื้น
๓) ก้มศีรษะลงไปให้หน้าผากจรดสันมือ
๔) คว่ำมือทั้งสองลงกับพื้น
๕) ยกมือทั้งสองขึ้นในท่าประณมพร้อมทั้งยกศีรษะขึ้นด้วย
๖) ทำเช่นนี้ ๓ ครั้ง
๗) นั่งตรง ยกมือไหว้จรดหน้าผากอีกครั้งหนึ่ง
การกราบพระที่ถูกต้องจะต้องกราบ แบบเบญจางคประดิษฐ์เสมอ การกราบแบบนี้
หมายถึงให้ส่วนของร่างกายทั้ง ๕ ส่วนจรดพื้น หน้าผาก ๑ ,มือ ๒ ,เข่า ๒

พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพสักการะสูงสุดของปวงชนชาวไทย พระองค์ทรงร่วมทุกข์
ร่วมสุขกับคนไทยทุกคน ประเทศชาติจะดำรงอยู่ก็เพราะมีองค์พระมหากษัตริย์เป็นศูนย์
รวมแห่งจิตใจในการต่อสู้กับอริราชศัตรู ในการรักษาเอกราชของประเทศ หรือการพัฒนา
ประเทศให้เจริญยิ่งขึ้นธงมหาราช เป็นธงประจำตัวของพระองค์ เวลาพระองค์เสด็จ ธงนั้น
จะปักอยู่หน้ารถพระที่นั่ง และเพลงสรรเสริญพระบารมีเปรียบเสมือน สัญลักษณ์แทนตัว
พระองค์
ฉะนั้น คนไทยทุกคนควรทำความเคารพต่อองค์พระมหากษัตริย์ ดังต่อไปนี้
๑. ยืนตรงทำความเคารพ พระมหากษัตริย์ พระราชินีพระโอรสพระธิดาหรือตัวแทนพระองค์
ชายถวายคำนับ หญิงถอนสายบัว
๒. เมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญพระบารมีทุกครั้ง ให้ยืนตรงทำความเคารพ อย่างสุภาพและระวัง
ตรงหันหน้าไปทางพระองค์หรือพระบรมฉายาลักษณ์ หรือองค์ประธานของงาน หรือยืนหันไป
ทางเสียงที่ได้ยินยืนจนจบเพลง ถ้าเป็นการบรรเลงที่ปรากฏพระองค์ ต้องถวายความเคารพ
เมื่อเห็นพระองค์ครั้งหนึ่ง เมื่อจบเพลงให้ถวายความเคารพอีกครั้งหนึ่งแล้วนั่ง หรือเคลื่อนที่
ไปแล้วแต่กรณี
๓. ร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีได้
๔. เทิดทูนพระองค์ในทุกโอกาส
๕. ตั้งรูปของพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระโอรส พระธิดา ไว้ในที่สูง
การถวายคำนับ ปฏิบัติดังนี้
๑) ถ้าแต่งเครื่องแบบและสวมหมวก ให้ยืนตรงแล้วกระทำวันทยาหัตถ์
๒) ถ้าไม่ได้สวมหมวก ให้ยืนตรงหันหน้าไปทางพระองค์ท่านแล้วถวายคำนับ โดยให้ก้ม
ศีรษะและส่วนไหล่ลงช้า ๆ ต่ำพอควรกระทำครั้งเดียว แล้วยืนตรงอย่าผงกศีรษะเร็วเกินไป
หมายเหตุ
ถ้าสวมหมวกอื่นที่ไม่ใช้เครื่องแบบต้องถอดหมวกแล้วยืนตรงหันไปทางพระองค์แล้วถวายคำนับ
การถอนสายบัว ปฏิบัติดังนี้
๑) ยืนตรง เท้าชิด หันหน้าไปทางพระองค์ท่าน
๒) ชักขาข้างใด ข้างหนึ่งไปทางหลัง โดยวาดปลายเท้าไปทางอีกด้านหนึ่งของขาที่ยืน
พร้อมกับย่อเข่าอีกข้างหนึ่งลงช้า ๆ
๓) เมื่อจวนต่ำสุด ให้ยกมือทั้งสองขึ้นวางประสานกันบนหน้าขาซ้ายที่ย่อต่ำลงให้ค่อนไป
ทางเข่า
๔) ก้มศีรษะต่ำลงเล็กน้อย เงยศีรษะขึ้นพร้อมกับชักขากลับที่เดิม แล้วยืนและตั้งเข่าให้ตรง
การถวายบังคม เป็นการถวายความเคารพพระมหากษัตริย์และพระบรมราชินี ตาม
ประเพณีตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน กระทำได้ทั้งหญิงและชาย มีวิธีปฏิบัติแบบเดียวกัน
ท่าเตรียม นั่งคุกเข่า ปลายเท้าทั้งสอง ตั้งลงยันกับพื้นนั่งทับลงบนส้นเท้า สำหรับชายให้แยกเข่า
ห่างกันประมาณ ๑ คืบ สำหรับหญิงให้แยกเข่าเล็กน้อยพองามตั้งตัวตรงยกอกขึ้น อย่าห่อไหล่
หรือยกไหล่วางมือทั้งสองคว่ำลงบนหน้าขาทั้งสองข้างนิ้วมือทุกนิ้วแนบชิดสนิทกัน
การถวายบังคมมี ๔ จังหวะ คือ
จังหวะที่ ๑ ยกมือขึ้นประณมตรงระดับทรวงอก ให้ปลายนิ้วตั้งตรงระดับปลายคาง
จังหวะที่ ๒ ทอดแขนพร้อมมือประณมหันไปข้างหน้า ให้ปลายมือต่ำลงแต่ไม่ห้อย ปลายนิ้วมืออยู่
ระหว่างระดับท้องโน้มตัวลงตามมือเล็กน้อย
จังหวะที่ ๓ วาดมือขึ้นจรดหน้าผาก ให้หันแม่มืออยู่กลางหน้าผาก ลำตัวเฉพาะเหนือเอวขึ้นไป
เอนไปข้างหลังชายเอนมากกว่าหญิง เงยหน้าให้อยู่ระดับ ๔๕ องศา แต่ไม่ถึงกับหงายหน้า ให้ตา
อยู่ระดับนิ้วหัวแม่มือระดับของลำตัวในขณะที่มืออยู่ระดับจรดหน้าผากจะต้องเอนเล็กน้อย แต่
ไม่ใช่เอนจนหงายหรือแหงนแต่คอท่าเอนนี้ลำตัวจะโค้งด้วยเล็กน้อย ศอกจะกางออก
จังหวะที่ ๔ ลดมือลงพร้อมกับโน้มตัวไปข้างหน้า วาดแขนและมือลงในระดับช่วงเข่า ปลายมือต่ำ
ยกปลายมือขึ้นในท่าประณม ปลายมือตั้งขึ้น พร้อมกับเลื่อนมือขึ้นสูงระดับอก และยกตัวขึ้นตรง
ทำเช่นนี้จนครบ ๓ ครั้ง แล้วลดมือลงในระดับอก เบนปลายนิ้วจากทรวงอกลงแบบอัญชลีแล้วจึง
ปล่อยมือวางที่หน้าขาตามเดิม แล้วเปลี่ยนจากท่านั่งเป็นท่าหมอบ




ความขัดแย้ง






ความหมาย และความเป็นมา

ความขัดแย้ง (Conflict) หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องกับจุดมุ่งหมาย หรือวิธีการ หรือทั้งสองอย่างแต่เป็นการพึ่งพาอาศัยในทางลบอาจกล่าวอย่างกว้างๆได้ว่า ความขัดแย้ง หมายถึง การที่แต่ละฝ่ายไป ด้วยกันไม่ได้ในเรื่องเกี่ยวกับความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นความต้องการจริง หรือศักยภาพที่จะเกิดตามต้องการ (เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์, 2540:11) ส่วนแนวคิดเกี่ยวกับความขัดแย้งในปัจจุบัน เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ ( 2540) ได้รวบรวมประเด็นความขัดแย้งไว้ว่าความขัดแย้งอาจเป็นการส่งเสริมการปฏิบัติงานในองค์การ ควรจะมีการบริหารความขัดแย้งให้เกิดผลดีที่สุด ความขัดแย้งอาจจะมีประโยชน์หรืออาจมีโทษขึ้นอยู่กับวิธีการบริหารในองค์การที่ดีที่สุดจะมีความขัดแย้งในระดับที่เหมาะสมซึ่งจะช่วยกระตุ้นแรงจูงใจให้คนปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ความขัดแย้งเป็นส่วนหนึ่งในองค์การ ความขัดแย้งเป็นของดีเพราะจะช่วยกระตุ้นให้คนพยายามหาทางแก้ปัญหาซึ่งมีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อการทำงานของคน ปัจจัยเหล่านี้ผู้บริหารไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา นักทฤษฎีทางด้านจิตวิทยา ได้ศึกษาพฤติกรรมเกี่ยวกับความขัดแย้ง และมีบทความข้อเขียนทางด้านวิชาการหลายท่าน ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้ง(Robbihns,1983 อ้างใน สิทธพงศ์ สิทธขจร, 2535) โดยได้จำแนกแนวความคิดเกี่ยวกับความขัดแย้งเป็น 3 กลุ่ม ซึ่งแตกต่างกัน ดังนี้

1. แนวคิดสมัยดั้งเดิม (Traditional View) สันนิษฐานว่า ความขัดแย้งเป็นสิ่งไม่ดี และมีผลกระทบด้านลบต่อองค์การอยู่เสมอ ดังนั้น หากหลีกเลี่ยงได้ควรหลีกเลี่ยง ผู้บริหารจะต้องมีความรับผิดชอบที่จะต้องกำจัดความขัดแย้งขององค์การ วิธีแก้ปัญหาความขัดแย้ง ก็คือ การออกกฎระเบียบ กระบวนการที่เข้มงวด เพื่อที่จะทำให้ความขัดแย้งหมดไป แต่ตามความเป็นจริงแล้ว ความขัดแย้งก็ยังคงมีอยู่

2. แนวคิดด้านมนุษย์สัมพันธ์ (Human Relations View) ยืนยันว่า ความขัดแย้งอาจจะเกิดขึ้นตาม ธรรมชาติ และหลีกเลี่ยงไม่ได้ภายในทุกองค์การ เนื่องจากไม่สามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งได้ มุมมองด้าน มนุษยสัมพันธ์ จึงสนับสนุนการยอมรับความขัดแย้ง โดยอธิบายไว้ว่า เหตุผลของการมีความขัดแย้ง เพราะไม่สามารถถูกกำจัดได้ และความขัดแย้งอาจจะมีประโยชน์ต่อภายในองค์การได้บ้างในบางเวลา มุมมองด้าน มนุษยสัมพันธ์นี้ ได้ครอบงำความคิดของนักวิชาการเกี่ยวกับความขัดแย้งตั้งแต่ปลายปี 2483 จนถึงปี 2513

3. แนวคิดสมัยใหม่ (Contemporary View) เมื่อแนวคิดด้านมนุษยสัมพันธ์ยอมรับความขัดแย้ง มุมมองที่เป็นแนวความคิดสมัยใหม่ จึงสนับสนุนความขัดแย้งบนรากฐานที่ว่า องค์การที่มีความสามัคคี ความสงบสุข ความเงียบสงบ และมีความร่วมมือ หากไม่ยอมรับปัญหาที่เกิดขึ้น จากความขัดแย้ง การให้ความร่วมมือแก่องค์การจะกลายเป็นความเฉื่อยชา อยู่เฉย และไม่ตอบสนองต่อความต้องการเพื่อการเปลี่ยนแปลง และการคิดค้นใหม่ๆ ดังนั้นแนวความคิดสมัยใหม่สนับสนุนให้ผู้บริหารรักษาระดับความขัดแย้งภายในองค์การให้อยู่ในระดับต่ำสุด เพียงพอที่จะทำให้องค์การเจริญเติบโตและสร้างสรรค์

ประเภทของความขัดแย้ง

ความขัดแย้งแบ่งออกเป็นหลายประเภทดังนี้

1. ความขัดแย้งของบุคคล อาจเป็นความขัดแย้งภายในตัวบุคคล( Intrapersonal Conflict) เป็นสภาวะที่บุคคลรับรู้ถึงความขัดแย้งในจิตใจตนเองเมื่อเผชิญเป้าหมาย ค่านิยม ความเชื่อ ความต้องการหลายๆอย่างที่แตกต่างในเวลาเดียวกัน ซึ่งเป็นลักษณะที่ตนชอบทั้งคู่หรือต้องเลือกพียงอย่างเดียว หรือสิ่งที่จะต้องเลือกมีทั้งข้อดีข้อเสียที่ตนเองชอบและข้อเสียที่ตนองไม่ชอบ ทำให้ตัดสินใจลำบากว่าจะเลือกหรือไม่เลือก นอกจากได้อาจเป็นความขัดแย้งในบทบาทความขัดแย้งภายในบุคคลยังเกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีความไม่แน่ใจว่าเขาถูก คาดหมายให้ปฏิบัติงานอะไรหรือถูกคาดหมายให้ปฏิบัติงานเกินความสามารถของตน ความขัดแย้งระหว่างบุคคล (Interperonal Conflict) ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากบุคลิกภาพค่อนข่างก้าวร้าว ย่อมจะเกิดความขัดแย้งกับผู้อื่นได้ง่าย โดยเฉพาะกับบุคคลที่มีความรู้สึกไว และความขัดแย้งของบุคคลย่อมมีผลต่อความขัดแย้งของ องค์การโดยส่วนรวมด้วย เพราะบุคคลเป็นองค์ประกอบขององค์การ

2. ความขัดแย้งขององค์การ ความขัดแย้งขององค์การเป็นการต่อสู้ดิ้นรนที่แสดงออกจนเป็นที่สังเกตเห็นด้วยกันได้ทั้งสองฝ่าย และความขัดแย้งขององค์การเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมหรือระบบองค์การที่บุคคลต้องมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้แล้วความขัดแย้งเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องเกิดขึ้นเสมอในหน่วยงานแต่จะแสดงออกมาให้เห็นได้เด่นชัดในลักษณะต่างๆ หรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับสาเหตุและผลกระทบว่าจะรุนแรงมากน้อยแค่ไหน การเกิดกรณีความขัดแย้งนั้นมีลักษณะเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง โดยต้องมีจุดเริ่มต้นหรือสาเหตุหรือจุดก่อตัวก่อนแล้วจึงพัฒนาขึ้นเป็นสายโซ่ที่ต่อเนื่องกัน

ความขัดแย้งในสังคมย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ โดยเฉพาะความขัดแย้งในองค์กรในส่วนของนายจ้างกับลูกจ้าง เพราะว่าคนทั้งสองฝ่ายมีจุดประสงค์และจุดมุ่งหมายต่างกัน จากการศึกษาของ March และ Simon (1958: 102 อ้างถึงใน วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์

 พบว่าความขัดแย้งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. ความขัดแย้งต่อตนเอง (Individual Conflict) เป็นความขัดแย้งที่บุคคลมีต่อการกระทำของตนเอง แบ่งออกเป็น

1.1      รักพี่เสียดายน้อง (Approach-Approach Conflict) เป็นความต้องการหรือพอใจทั้งสองอย่าง แต่เลือกได้เพียงอย่างเดียว

1.2      หนีเสือปะจระเข้ (Avoidance-Avoidance Conflict) เป็นความรู้สึกที่ไม่ต้องการไม่ปรารถนาทั้ง 2 อย่าง แต่ต้องเลือก 1 อย่าง

1.3      เกลียดตัวกินไข่ (Approach-Avoidance Conflict) คือมีทั้งสิ่งที่พอใจไม่พอใจอยู่ร่วมกัน จำเป็นต้องเผชิญหน้าทั้ง 2 อย่างในเวลาเดียวกัน

                2. ความขัดแย้งในองค์การ(Organizational Conflict) เมื่อคนแต่ละคนมาอยู่ร่วมกัน ทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน จะมีความคิดเห็นต่างกัน มีวิธีการคิดที่ไม่เหมือนกัน ค่านิยมอคติ การรับรู้ ผลประโยชน์ เกิดจากการแบ่งทรัพยากรและงบประมาณมีจำนวนจำกัด หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงเทคนิคในการทำงาน ความแตกต่างในหน้าที่การทำงาน ล้วนเป็นสาเหตุที่จะทำให้เกิดความขัดแย้งได้ทั้งสิ้น

                3. ความขัดแย้งระหว่างองค์การ(Inter organization Conflict) เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างองค์กรกับองค์การหรือระหว่างกลุ่มกับกลุ่ม เช่นผลประโยชน์ขัดกัน



สาเหตุของความขัดแย้ง

สาเหตุของความขัดแย้งอาจเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. ลักษณะงานที่ต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน (Task interdependence) ปัจจัยประการแรกนี้ หมายถึง การที่หน่วยงานสองหน่วยงานหรือมากกว่านั้น ไม่สามารถเป็นอิสระแก่กันได้ จะต้องมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องข้อมูล ความช่วยเหลือหรือการประสานงานกัน เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อทำให้การทำงานประสบผลสำเร็จ การที่งานของหน่วยงานต่าง ๆ ใน องค์กรไม่สามารถเป็นอิสระแก่กันได้ อาจนำไปสู่ความขัดแย้งซึ่งมีอยู่ 3 รูปแบบด้วยกัน

ประการแรก ความขัดแย้งอาจเกิดขึ้นจากการที่หน่วยงานหรือกลุ่มต่าง ๆ ในองค์กรอาจจะไม่จำ เป็นต้องมีความสัมพันธ์กันโดยตรงก็ได้ แต่เมื่อหน่วยงานหนึ่งเกิดทำงานผิดพลาดขึ้นอย่างร้ายแรง ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของอีกหน่วยงานหนึ่งที่เกี่ยวข้อง และจะนำไปสู่ความ ขัดแย้งต่อกัน

                ประการที่สอง มีรูปแบบที่ว่า การปฏิบัติงานของหน่วยงานหนึ่ง จะเริ่มลงมือปฏิบัติได้ก็ต่อเมื่อ งานของอีกหน่วยหนึ่งได้ทำสำเร็จลงแล้ว ในลักษณะเช่นนี้ หากการทำงานของหน่วยงานแรกเกิดความล่าช้า ก็จะส่งผลให้งานของหน่วยงานหลังต้องล่าช้าตามไปด้วย เพราะต้องรอให้หน่วยงานแรกปฏิบัติงานเสร็จเสียก่อน เงื่อนไขเช่นนี้ ย่อมนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างสอง หน่วยงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น และ

ประการสุดท้าย เป็นลักษณะที่การทำงานของกลุ่มหรือหน่วยงานต่าง ๆ จะต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน จึงจะทำให้งานสำเร็จลุล่วงได้ เช่น หน่วยงานวิจัยต้องอาศัยข้อมูลจากฝ่ายปฏิบัติการ ในขณะเดียวกันฝ่ายปฏิบัติการก็ต้องอาศัยข้อมูลหรือผลการวิจัยจากฝ่ายวิจัยเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน หากหน่วยงานหรือกลุ่มจากสองหน่วยงานนี้ไม่สามารถร่วมมือกันได้ หรือต่างฝ่ายต่างไม่ยอมรับกันก็จะมีผลนำไปสู่ความขัดแย้งในท้ายที่สุด

2. การแบ่งงานตามความชำนาญเฉพาะด้านมีมากขึ้น (Increased specialization) เกิดปัญหามากมายหลายประการด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของความขัดแย้ง ซึ่งจากผลการวิจัยของนักวิชาการหลายท่าน ได้มีการค้นพบว่า การแบ่งงานตามความชำนาญมากเท่าใด ยิ่งเกิดความขัดแย้งเพิ่มมากขึ้น เพราะจะทำให้บุคลากรแต่ละกลุ่มมีโครงสร้างในการทำงาน และพัฒนาการในการเรียนรู้ หรือแนวความคิดที่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในงานของตนเอง สภาพเช่นนี้ทำให้บุคลากรใน แต่ละหน่วยงานมีแนวความคิดต่อการปฏิบัติ และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของงานแตกต่างกันไปตามความถนัดของแต่ละบุคคล และเมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องประสานงานหรือทำงานร่วมกันแล้ว โอกาสที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งก็จะเกิดขึ้นได้

3. การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของงานไม่ชัดเจน (Ambiguously defined responsibilities) ความขัดแย้งมักเกิดจากความไม่ชัดเจนของการกำหนดหน้าที่รับผิดชอบในการทำงานในองค์การทำให้เกิดความสับสน ก้าวก่ายในการทำงานหรือทำงานซ้ำซ้อนกัน ซึ่งเป็นบ่อเกิดของความขัดแย้ง สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้องค์กรขาดความชัดเจนในการกำหนดหน้าที่รับผิดชอบ คือในขณะที่สภาพแวดล้อมขององค์กรมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งมีผลทำให้เกิดหน้าที่ความรับผิดชอบของงานใหม่ ๆ ขึ้นมามากมาย แต่องค์กรส่วนใหญ่มักจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะขอบข่ายของงาน ซึ่งระบุถึงหน้าที่ความรับผิดชอบให้ทันสมัยตามกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป ด้วยสภาพเช่นนี้จะทำให้บุคลากร กลุ่ม หรือหน่วยงานแต่ละฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้ ว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบในการทำงานนั้น ๆ ซึ่งบางครั้งอาจจะทำให้เกิดการแบ่งงานกันทำ หรือปัดความรับผิดชอบให้กับฝ่ายอื่น และความขัดแย้งตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

4. อุปสรรคของการติดต่อสื่อสารหรือการสื่อข้อความ (Communication obstruction) อาจจะเกิดขึ้นจากความคล่องตัวของงานที่เป็นอยู่ภายในหรือระหว่างหน่วยงาน ไม่มีประสิทธิภาพ หรืออาจเกิดจากอุปสรรคด้านภาษา ซึ่งเกิดจากการที่บุคลากรในแต่ละหน่วยงานมีพื้นฐานความรู้ การศึกษา หรือการอบรมที่แตกต่างกัน เช่น วิศวกร นายแพทย์ และนักสังคมศาสตร์ เป็นต้น มักจะมีภาษาที่ใช้สื่อความหมายเฉพาะตัวตามสาขาอาชีพตน ซึ่งแตกต่างกันอย่างมากมาย สภาพเช่นนี้อาจจะมีผลทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล กลุ่ม หรือหน่วยงานขาดความเข้าใจ หรือเกิดการเข้าใจผิดซึ่งกันและกัน ซึ่งมีผลทำให้ไม่สามารถประสานงานและร่วมมือร่วมใจกันได้ตามที่ควรจะเป็น เงื่อนไขเช่นนี้อาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งตามมาในท้ายที่สุด

5. การแข่งขันเพื่อแย่งชิงทรัพยากรที่มีจำกัด (Competition for limited sources) บุคลากรหรือหน่วยงานต่าง ๆ ภายในองค์การมักจะเผชิญปัญหาที่เกี่ยวกับการแก่งแย่ง เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรขององค์กรที่มีค่อนข้างจำกัด เช่น ในเรื่องของงบประมาณ วัสดุ หรือทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น



ผลของความขัดแย้ง

ความขัดแย้งมีทั้งแง่ดีและแง่ไม่ดี หมายความว่า ความขัดแย้งอาจเป็นในลักษณะในทางสร้างสรรค์และทำลาย ถ้าหากความขัดแย้งในองค์กรมีมากเกินไป ผลที่ตามมาก็จะเป็นไปในทางลบ (Negative consequences) ซึ่งมีลักษณะทำลายประสิทธิผลขององค์การแต่ถ้าความขัดแย้งอยู่ในจุดที่เหมาะสมก็จะเกิดผลในทางบวก (Positive consequences) ซึ่งมีลักษณะเป็นการสร้างสรรค์ ประสิทธิผลให้กับองค์การอย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติ บางครั้งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากที่จะกำหนดว่าความ ขัดแย้งขนาดไหนถึงจะเรียกว่าเป็นจุดที่เหมาะสมที่สุด ต่อปัญหาดังกล่าวนี้ได้มีนักวิชาการเสนอแนะว่า กลยุทธ์ที่จะช่วยตัดสินใจได้ดีที่สุดก็คือ การสังเกตผลที่ตามมาของความขัดแย้งทั้งสองประการนั่นเอง กล่าวคือ ถ้าผลของความขัดแย้งออกมาในทางบวกก็เรียกว่า ความขัดแย้งอยู่ในจุดที่เหมาะสมที่สุด แต่ถ้าผลออกมาในทางลบก็ถือได้ว่าเป็นจุดที่ความขัดแย้งนำไปสู่การทำลายมากกว่าการสร้างสรรค์ ดังนั้น ผลของความขัดแย้งจึงมี 2 ลักษณะ คือ

ความขัดแย้งที่ส่งผลในทางบวก มีลักษณะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในเชิงสร้างสรรค์

2. สามารถทำให้บุคลากรในองค์กรเกิดแรงจูงใจในการทำงานและพบแนวทางในการทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

3. ก่อให้เกิดความสามัคคีในกลุ่ม

4. ทำให้เกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเป้าหมายเดิมขององค์กรที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง

5. สมาชิกในองค์การได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

6. องค์การมีการปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงในสังคมได้อย่างต่อเนื่อง

7. มีการเลือกตัวแทนที่เข้มแข็งมีความรู้ความสามารถมาเป็นผู้นำ

8. ได้มีการระบายข้อขัดแย้งระหว่างบุคคลหรือกลุ่มซึ่งเก็บกดไว้เป็นเวลานาน

9. ทำให้เกิดแนวทางแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์กับองค์กรหรือทำให้เกิด คุณภาพในการตัดสินใจ

10. ทำให้ลดความตึงเครียดในองค์กรได้ หรือทำให้ความสัมพันธ์ของบุคคลในองค์กรดีขึ้น

11. ทำให้คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในองค์กรดีขึ้น ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล รู้จักการปรับตัว และการประสานงานร่วมกัน



ความขัดแย้งที่ส่งผลในทางลบ มีลักษณะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. นำไปสู่ความตึงเครียดมากขึ้น หรือมีผลกระทบต่อสุขภาพจิตของคนในองค์กรมากขึ้น

2. ทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรและเวลามากเกินไป

3. ทำให้เกิดการแบ่งเป็นพรรค เป็นพวกขึ้น ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งมีความรู้สึกว่าตนเองเป็นฝ่ายชนะ (Winner) และอีกฝ่ายหนึ่งรู้สึกว่าเป็นผู้แพ้ (Loser) ลักษณะเช่นนี้มีผลทำลายความสัมพันธ์ของสมาชิกในองค์การขาดการประสานงานกัน และไม่มีความร่วมมือร่วมใจในการทำงาน ซึ่งมีผลทำให้ประสิทธิผลขององค์การตามมาได้

4. มุ่งจะเอาชนะกันมากกว่าที่จะมองถึงผลกระทบต่อเป้าหมายขององค์กรโดยส่วนรวม

5. นำไปสู่ความยุ่งเหยิงและไร้ซึ่งเสถียรภาพขององค์การ


การบริหารความขัดแย้ง (Conflict Management)

ความขัดแย้งเป็นปรากฎการณ์สามัญในสังคมที่ให้ทั้งประโยชน์และโทษต่อบุคคลและองค์การจึงเกิด คำถามว่า ทำอย่างไรให้ได้ประโยชน์มากที่สุดและเกิดโทษน้อยที่สุด ดังนั้นผู้บริหารจำเป็นต้องมีความรู้ ความสามารถในการจัดการกับความขัดแย้ง หรือ บริหารความขัดแย้ง(Conflict Management) เพื่อนำองค์การที่ตนเองรับผิดชอบให้เจริญก้าวหน้า ดังนั้นองค์การจึงจำเป็นต้องมีความขัดแย้งเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง ถ้าไม่มีความขัดแย้งหรือน้อยเกินไปก็จะทำให้องค์การมีความเสื่อม ระดับความขัดแย้งที่พอเหมาะจะทำให้เกิดความสร้างสรรค์ มีความสามัคคี สร้างความเจริญให้แก่องค์การ แต่ถ้าความขัดแย้งสูงหรือมีมากเกินไปจะทำให้เกิดความแตกแยกเป็นปัญหาแก่องค์การเป็นอย่างยิ่ง ผู้บริหารควรจะต้องมีเครื่องมือหรือวิธีการในการบริหารความขัดแย้งในองค์การ วิธีการในการบริหารความขัดแย้ง คือ

1. การกระตุ้นความขัดแย้ง

2. การแก้ปัญหาความขัดแย้ง

3. การป้องกันปัญหาความขัดแย้งในองค์การ

การกระตุ้นความขัดแย้ง

องค์การที่มีความขัดแย้งน้อย จะทำให้สมาชิกเฉื่อยชาไม่มีบรรยากาศในการแข่งขันกันทำงาน เพราะสภาพเช่นนี้สมาชิกของกลุ่มจะยอมรับสิ่งต่างๆที่เป็นอยู่ทำให้ละเลยต่อจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องของบุคคลอื่น ไม่มีการ feedback ไม่เกิดผลดีต่อองค์การ ผู้บริหารจึงควรกระตุ้นให้เกิดความขัดแย้งขึ้นจะช่วยให้เกิดการ ปรับตัวของบุคคลากรและแก้ไขข้อบกพร่อง สร้างความกระตือรือร้นให้เกิดขึ้น แต่ต้องระมัดระวังควบคุมให้เกิดขึ้นในทางบวก สโตนเนอร์ (Stoner) ได้เสนอเทคนิคการกระตุ้นความขัดแย้ง ดังต่อไปนี้

1. การใช้บุคคลภายนอกในองค์การ ที่มีการบริหารที่แตกต่างไปจากที่เป็นอยู่เข้ามาร่วมในองค์การ ก่อให้เกิดความขัดแย้งเพิ่มขึ้น ปลาได้น้ำใหม่ก็ตื่นตัว

2. เพิ่มข้อมูลข่าวสารให้มากขึ้น เป็นการกระตุ้นให้เกิดความคิด

3. เปลี่ยนโครงสร้างขององค์การ เปลี่ยนทีมงานใหม่ โยกย้ายพนักงานทำให้เกิดความรู้สึกใหม่ มีหน้าที่รับผิดชอบใหม่ เกิดการปรับตัวและปรับปรุงวิธีการทำงานใหม่ๆ

4. ส่งเสริมให้มีการแข่งขัน โดยการเพิ่มโบนัส เพิ่มเงินเดือน ถ้ามีการแข่งขันมากจะทำให้เกิดความ ขัดแย้งมากขึ้น

5. การเลือกผู้นำกลุ่มที่เหมาะสม เพราะผู้ร่วมงานอาจเฉื่อยชาเพราะผู้นำเผด็จการ ไม่ยอมรับทัศนะที่ ตนเองไม่เห็นด้วย



การแก้ปัญหาหรือระงับความขัดแย้ง (Conflict Resolution or Supervision) เป็นการทำให้ความขัดแย้งสิ้นสุดลง อาจโดยให้ทุกฝ่ายตกลงกัน หรือให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดชนะไป วิธีการแก้ไขความขัดแย้งมี 3 วิธี ได้แก่

1.  วิธีชนะ-แพ้ (Win-Lose Method) คือ มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้สิ่งที่ต้องการเป็นฝ่ายชนะไป ส่วนอีกฝ่ายเป็นฝ่ายแพ้ เหตุของการแพ้อาจเกิดจากการใช้อำนาจหน้าที่ หรือการใช้เสียงข้างมากในการดำเนินการ เสียงข้างน้อยจึงแพ้ ซึ่งผู้แพ้อาจเกิดความรู้สึกสูญเสียและภาวะคับข้องใจเกิดขึ้น วิธีแบบนี้ประกอบด้วย วิธีย่อย ๆ คือ

(1)       วิธีการบังคับ (Forcing) โดยอีกฝ่ายหนึ่งมีอำนาจเหนือกว่าอีกฝ่าย และไร้อำนาจของตนเองบังคับให้อีกฝ่ายยิน

ยอมและยุติข้อขัดแย้ง ซึ่งวิธีนี้อาจนำไปสู่ความคิดแก้แค้น เพราะการแก้ไขแบบนี้มิใช่การแก้ที่สาเหตุของปัญหา จึงทำให้ปัญหายังคงอยู่

(2)       วิธีการทำให้สถานการณ์ของความขัดแย้งสงบลง (Smoothing) วิธีการแบบนี้มีลักษณะเป็นการเข้าไปทำให้

สถานการณ์ของความขัดแย้งที่กำลังเกิดขึ้นให้สงบลงมา เพื่อไม่ให้ความขัดแย้งขยายวงกว้างขวางมากขึ้น โดยการเข้าไปขอร้องให้ยุติความขัดแย้ง พยายามชักจูงคู่กรณีให้เห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นไม่มีความสำคัญเพียงพอ ที่จะต้องเสียเวลาไปกับมันทำให้สมาชิกของกลุ่มที่ ขัดแย้งกันเห็นถึงความสำคัญของการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและเห็นถึงผลเสียของการแตกแยกกัน วิธีการนี้ไม่ใช่เป็นการเข้าไปแก้ที่สาเหตุของปัญหา หากแต่เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ดังนั้น ปัญหายังจะดำรงอยู่ต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคคลหรือกลุ่มที่มีความรู้สึกว่าตนเองเป็นฝ่ายแพ้ เพราะการที่พวกเขายอมยุติความขัดแย้ง อาจจะมาจากสาเหตุของการขอร้อง หรือเห็นแก่บุคคลอื่นก็ได้ ในสภาพเช่นนี้ความขัดแย้งที่ยุติลงไปนั้นจึงเป็นความสงบชั่วคราวเท่านั้น และความขัดแย้งพร้อมที่จะปะทุขึ้นมาอีกเมื่อไรก็ได้

(3)       วิธีการหลีกเลี่ยง (Avoiding) วิธีการแบบนี้มีลักษณะเป็นการที่ผู้บริหารไม่ สนใจที่จะเข้าไปเผชิญกับสถานการณ์

ของความขัดแย้งที่กำลังเกิดขึ้น อาจจะทำเป็นไม่รู้ว่ามีความ ขัดแย้งเกิดขึ้น เฉยเมยหรือไม่มีการตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของผู้ใต้บังคับบัญชา หรือพยายามยืดเวลาโดยไม่ยอมตัดสินใจแก้ปัญหา เป็นต้น การใช้วิธีการแบบนี้ไม่สามารถก่อให้เกิดประสิทธิผลในการแก้ไขความขัดแย้งได้เลยเพราะการหลีกเลี่ยงแท้ที่จริงก็คือการไม่ยอมเข้าไปแก้ไขที่สาเหตุของปัญหานั่นเอง และที่ร้ายไปกว่านั้นหากผู้บริหารใช้วิธีการแบบนี้กับการเรียกร้องของผู้ใต้บังคับบัญชาแล้ว จะทำให้เกิดความรู้สึกกลายเป็นผู้แพ้ขึ้นมา เพราะข้อเสนอของพวกเขาไม่ได้รับความสนใจเลย สภาพเช่นนี้จะทำให้ความขัดแย้งยิ่งบานปลายและรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ และแทนที่ความขัดแย้งควรจะถูกลดลงมาให้กลายเป็นสภาวะที่สร้างสรรค์ กลับมีลักษณะเป็นการทำลายมากขึ้น

2. วิธีแพ้ทั้งคู่ (Lose-Lose methods) หมายถึงว่า เป็นวิธีที่ทำให้ทั้งสองฝ่ายที่เป็นคู่กรณีของความขัดแย้งนี้ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตนเองต้องการได้ทั้งหมด แต่อาจจะได้มาเป็นบางส่วนเท่านั้น ดังนั้น จึงเรียกว่าทั้งสองฝ่ายเป็นผู้แพ้ วิธีการแบบนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความคิดที่ว่า การได้มาบางส่วนดีกว่าไม่ได้เลย ซึ่งมีนักวิชาการหลายท่านเห็นว่าเป็นวิธีการแก้ไขความขัดแย้งที่ดีกว่าวิธีการที่ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ชนะและอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้แพ้ สำหรับวิธีการประการที่สองที่นิยมใช้กันนี้ ได้แก่ การประนีประนอม (Compromising) หรือบางครั้งอาจจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นการเจรจาต่อรอง (Bargaining) ซึ่งมีลักษณะเป็นการแก้ไขความขัดแย้งโดยการพบกันครึ่งทาง ซึ่งแต่ละฝ่ายจะไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตนเองต้องการได้ทั้งหมด ต้องมีการลดเป้าหมายของตนเองลงไปบ้าง วิธีการแบบนี้ก็มีจุดอ่อนในการนำมาใช้แก้ไขความขัดแย้งเช่นกัน เพราะไม่สามารถนำไปสู่การแก้ไขสาเหตุของความขัดแย้งได้อย่างแท้จริง อันเนื่องมาจากว่า เป้าหมายที่แท้จริงของคู่กรณียังไม่สามารถบรรลุได้ตามที่ต้องการนั่นเอง ดังนั้น ความขัดแย้งอาจจะยุติลงเพียงชั่วคราวเท่านั้น และที่ร้ายไปกว่านั้น วิธีการประนีประนอมจะไม่สามารถนำไปสู่การสร้างสรรค์ขึ้นมาได้เลย

3. วิธีการที่ทั้งสองฝ่ายเป็นผู้ชนะ (Win-Win methods) วิธีการนี้ คู่กรณีของความขัดแย้ง ประสบผลสำเร็จในการแก้ปัญหาร่วมกัน และทำให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ตามที่ทั้งสองฝ่ายต้องการ ดังนั้นทั้งสองฝ่ายจึงเป็นผู้ชนะ สำหรับวิธีการที่นิยมใช้กันคือ การแก้ไขปัญหาร่วมกัน (Integrative problem solving) ซึ่งบางครั้งมีนักวิชาการเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การเผชิญหน้ากัน (Confrontation) วิธีการแบบนี้จะไม่มีการเข้าไปกำจัดความขัดแย้ง หรือประนีประนอมกันใด ๆ ทั้งสิ้น หากแต่เป็นการเปิดโอกาสให้คู่กรณีของความขัดแย้งเข้ามาร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวพวกเขาทั้งนี้เพื่อหาแนวทางแก้ไขที่ทั้งสองฝ่ายพึงพอใจและยอมรับกันได้ ในการใช้วิธีการแบบนี้ผู้บริหารจะต้องทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือคู่กรณีของความขัดแย้งเกิดความรู้สึกขึ้นมาว่า สมาชิกภายในองค์กรทุกคนสามารถทำงานร่วมกันได้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน

การป้องกันความขัดแย้ง

สามารถทำได้โดยการสร้างบรรยากาศให้คู่กรณีของความขัดแย้งสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้อย่างเป็นอิสระ กล่าวคือ ใช้กลยุทธ์ ดังนี้

1.             กลยุทธ์การมีความเห็นสอดคล้อง โดยยึดหลักการหาวิธีการแก้ปัญหาที่จะเป็นที่ยอมรับร่วมกันจากทุกฝ่ายที่มีปัญหา มุ่ง

ตอบสนองความต้องการของทั้ง 2 ฝ่าย ให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายที่มีความขัดแย้งกันต้องดำเนินการให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน โดยมีหลักสำคัญคือ

1.1      ยอมรับแนวความคิดสมัยใหม่ที่ว่า ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ที่นำมาซึ่งการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง สร้างสรรค์

สิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น และความขัดแย้งไม่ใช่สิ่งที่มาคุกคามหรือทำให้เกิดการต่อต้าน

1.2      มุ่งมองที่ตัวปัญหามากกว่าตัวบุคคล โดยพยายามค้นหาสาเหตุของปัญหาให้ได้ และเน้นการแก้ปัญหา หรือเอาชนะ

ปัญหา มากกว่าเน้นเรื่องความต้องการ ความปรารถนาส่วนบุคคล

1.3 มุ่งหาข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับปัญหาให้มากที่สุด ไม่กล่าวโจมตีว่าใครผิดหรือถูก
1.4 มีความจริงใจ เปิดเผยและใจกว้างยอมรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น ไม่ยึดมั่นในความคิดของตนฝ่ายเดียว
1.5 หลีกเลี่ยงการเน้นถึงความต้องการของตนโดยที่ความต้องการนั้นไปขัดความต้องการของผู้อื่น
1.6 อาจต้องอาศัยบุคคลที่สามเข้ามาดำเนินการช่วยเหลือ และควรหลีกเลี่ยงการใช้เสียงข้างมากตัดสิน หรือใช้การแลกเปลี่ยนแบบ "หมูไปไก่มา" หรือ "ยื่นหมูยื่นแมว"

2.             กลยุทธ์การตัดสินใจแบบผสมผสาน วิธีการนี้เกี่ยวเนื่องจากผลสืบเนื่องของกระบวนการตัดสินใจ ซึ่งต้องอาศัยลำดับขั้น

ตอนมากขึ้น เพราะต่างฝ่ายที่ขัดแย้งกันยังยึดหลักของวิธีการแก้ปัญหาบางประการของตนไว้ และแต่ละฝ่ายจะนำจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายของตนมารวมกัน และจึงจะนำไปสู่การหาวิธีการแก้ปัญหาโดยให้มีการยอมรับร่วมกัน องค์ประกอบของการตัดสินใจและผสมผสานมีดังนี้

2.1 การทบทวนและการปรับตัวโดยเน้นทางด้านความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ด้านการรับรู้และด้านทัศนคติ

2.2 ระบุปัญหาให้ชัดเจน

2.3 การแสวงหาแนวทางการแก้ไข

2.4 ตัดสินใจแบบให้มีความเห็นสอดคล้องกัน

วิธีการแก้ไขปัญหาร่วมกัน หรือแบบชนะทั้งคู่ (Win-Win Method) สามารถนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของความขัดแย้งได้อย่างแท้จริง เพราะมันเป็นวิธีการที่จะนำไปสู่การค้นหาแหล่งที่มาของปัญหา และสามารถกำหนดวิธีการแก้ไขได้อย่างสมเหตุสมผล ซึ่งในท้ายที่สุดจะ ทำให้เกิดผลในทางสร้างสรรค์ต่อองค์การจากการศึกษา วิธีการแก้ไขความขัดแย้งที่มีลักษณะดังกล่าวมาข้างต้นนี้ จะเห็นว่าวิธีการแก้ไขปัญหาร่วมกัน เป็นเพียงวิธีการเดียวเท่านั้นที่สามารถนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้อย่างแท้จริง และจากการศึกษาและวิจัยของนักวิชาการต่าง ๆ ก็ได้ ค้นพบและยืนยันให้เห็นว่า การใช้วิธีการแก้ไขปัญหาร่วมกันนี้ จะทำให้สมาชิกในองค์กรเกิดความรู้สึกที่ดีต่อกัน ทำให้เกิดผลในทางสร้างสรรค์ต่อองค์กรหรือทำให้องค์กรเกิดประสิทธิผลขึ้นได้ และผู้บริหาร ที่ประสบ ผลสำเร็จส่วนใหญ่มักจะเลือกใช้วิธีการแบบนี้ในการแก้ความขัดแย้ง (Lawrence , 1969: 69)

ความมีน้ำใจ



การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยความมีน้ำใจไมตรีที่ดีต่อกัน ความมีน้ำใจเป็นเรื่องที่ทุกคนทำได้ โดยไม่ต้องใช้เงินทองมากมาย เพียงแต่แสดงความเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ โดยการช่วยเหลือเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น ก็เป็นการแสดงน้ำใจได้ เช่น การพาเด็กหรือ ผู้สูงอายุข้ามถนน หรือการสละที่นั่งบนรถโดยสารให้หญิงมีครรภ์ หรือแม้แต่การมีส่วนร่วมช่วยกันพัฒนาสังคมของเราให้ดีขึ้นก็ได้ เป็นต้น ก็นับว่าเป็นการแสดงน้ำใจ การแสดงความมีน้ำใจจึงไม่ได้วัดกันด้วยเงินทอง บางคนมีเงินมาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เขาจะเป็นคนมีน้ำใจ เพราะเขาอาจแล้งน้ำใจก็ได้ บางคนเป็นเศรษฐีแต่มีความตระหนี่มากไม่ยอมแม้จะสละเงินให้ผู้อื่นโดยที่ตนไม่ได้รับประโยชน์ตอบแทน ถึงกระนั้นคนที่ไม่ได้มีเงินมากเพียงแค่พอมีพอกินอาจเป็นคนที่พอมีน้ำใจให้คนอื่นบ้างก็ย่อมเป็นที่รัก และที่ชื่นชมของผู้อื่นเสมอ
ความมีน้ำใจนั้น ตรงกันข้ามความเห็นแก่ตัว ขณะที่คนเห็นแก่ตัวมักจะคิดแต่ประโยชน์ส่วนตัวมาก่อน แต่แน่นอนที่คนมีน้ำใจจะคิดถึงประโยชน์ของส่วนรวมบ้าง และความมีน้ำใจก็ยังตรงกันข้ามกับความอิจฉาริษยา คนที่อิจฉาริษยาคนอื่นย่อมปรารถนาที่จะเห็นความ ล้มเหลวของผู้ที่ได้ดีกว่า แต่คนมีน้ำใจนั้น เมื่อเห็นคนอื่นได้ดีกว่าจะมีมุทิตา และจะแสดงความยินดีด้วยอย่างจริงใจ ผู้มีน้ำใจจะนึกถึง ผู้อื่น และจะพยายามช่วยผู้อื่นที่ด้อยโอกาสกว่า ผู้มีน้ำใจจึงเป็นที่รักและต้องการของคนทั่วไป และเป็นคนมีคุณค่าต่อสังคม และที่สำคัญพวกเขาเหล่านั้นก็จะเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตอย่างแน่นอน

ก็อย่างที่กล่าวไว้ ความมีน้ำใจจะไม่สามารถเกิดขึ้นในสังคมได้เลย หากไม่มีผู้ใดแสดงหรือกระทำมันขึ้นมา ซึ่งถ้าหากเราอยากที่จะเป็นบุคคลนั้น บุคคลที่จะสร้างความมีน้ำใจให้แก่สังคม บุคคลที่ปรารถนาอยากให้สังคมของตนเองและผู้อื่นมีความสุขนั้น ทำได้ไม่อยากเลย มันอยู่ที่ความคิด ความรู้สึก และหัวใจของเราเองเท่านั้น ที่จะสั่งให้ตัวเองลงมือทำ เราอาจฝึกฝนตนเองให้เป็นคนมีน้ำใจได้ ดังนี้

1. ควรเอาใจเขามาใส่ใจเรา คิดถึงหัวจิตหัวใจของคนอื่น และแสดงต่อผู้อื่นเหมือนที่เราต้องการให้คนอื่นแสดงต่อเรา และทำดีต่อคนอื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน ไม่ว่าความดีนั้นจะเป็นเพียงสิ่งเล็กน้อยหรือสิ่งที่ยิ่งใหญ่ก็ตาม แม้ผู้อื่นไม่ได้รับรู้กันทุกคน แต่หัวใจของเราก็รับรู้เสมอ
2. ควรเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ และไม่หวังว่าคนอื่นจะต้องมาให้เราเสมอ
3. ควรแสดงน้ำใจกับคนรอบข้าง เช่น เมื่อเวลามีโอกาสได้ไปเที่ยวในที่ไกลหรือใกล้ก็ตามควรมีของฝากเล็กๆน้อยๆติดมือมาถึงคนที่เรารู้จักและญาติมิตรของเรา นั่นเป็นการแสดงความมีน้ำใจต่อกัน เพราะแม้อาจจะเป็นแค่สิ่งเล็กน้อย แม้จะไม่ต้องใช้เงินทองมากมาย แต่สิ่งที่ได้มันมีค่ามากกว่านั้น นั่นคือน้ำใจที่ผู้อื่นได้รับจากเรา
4. ควรเสียสละกำลังทรัพย์ สติปัญญา กำลังกาย และเวลาให้แก่ผู้เดือดร้อน เท่าที่เราพอจะทำได้โดยไม่ถึงกับต้องลำบากแก่
ผู้อื่นให้กับผู้ที่ต้องการพึ่งพาอาศัยเรา โดยเป็นการกระทำที่ไม่หวังผลตอบแทน
5. ควรมีนิสัยเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือเกื้อกูลต่อเพื่อนบ้าน เช่น ไปร่วมงานพิธีต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานศพ หรืองานอื่นๆ เท่านั้นเขาก็จะเห็นว่าเราเป็นคนมีน้ำใจ และจะสามารถเชื่อมไมตรีจิตต่อกันได้
6. ควรให้ความรักแก่คนอื่นๆ และให้ความร่วมมือเมื่อเขาต้องการให้ช่วยเหลือ และช่วยเหลือเขาอย่างสุดความสามารถด้วยความจริงใจที่เรามี


การฝึกฝนตนเองให้เป็นคนมีน้ำใจ นอกจากจะทำให้เรามีจิตใจที่ดีงามเบิกบานแจ่มใส ผิวพรรณผ่องใส ใบหน้าอิ่มเอิบแล้วยังทำให้เราได้มิตรสหายมาก ใครก็อยากคบหาสมาคมด้วยเพราะความมีน้ำใจแสดงถึงความมีเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ แล้วชีวิตของเราจะพบแต่ความสุขตลอดไป เพราะสังคมของเราจะเป็นสังคมแห่งความสันติสุข



ความสำคัญของพระพุทธศาสนา



สาระสำคัญ
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เกิดขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ทุกชั้นวรรณะ โดยมุ่งเน้นถึงกลุ่มคนที่มีความวุ่นวายหรือมีความทุกข์ เพื่อดับตัณหาความยากของมนุษย์อันเป็นต้นเหตุความทุกข์ พระพุทธศาสนามีวิธีการแห่งหลักธรรมคำสอนที่เป็นจุดแห่งความคิดมากมาย โดยอาศัยความศรัทธาเป็นพื้นฐานและมีปัญหาเป็นผลที่เกิดตามมา

ความสำคัญของพระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนามีความสำคัญมากมายหลายประเด็นมีหลักคำสอนสำหรับพัฒนาบุคคลให้บรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุดแห่งชีวิตบนพื้นฐานของเหตุผลและความถูกต้อง ท่านได้กำหนดข้อปฏิบัติในการฝึกฝน

อบรมตน ด้วยการให้ละความชั่ว ประพฤติแต่ความดี และทำจิตใจของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส ซึ่งในขั้นตอนของการพัฒนาตนนั้น ต้องเริ่มต้นด้วยมีศรัทธา คือมีความเชื่อที่ถูกต้องในหลักเหตุและผลโดยอาศัยปัญญาเข้าไปกำกับทุกขั้นตอนของการปฏิบัติ แต่การที่คนเราจะมีปัญญาได้นั้น ตนเองก็ต้องรู้จักคิด รู้จักอบรมปัญญาให้เกิดขึ้น ด้วยการฟังจากบุคคลอื่นบ้าง จากการอ่านตำราบ้าง จากการคิดค้นด้วยตนเองบ้าง จากการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมทั่วไปบ้าง จากประสบการณ์ต่างๆ บ้าง เมื่อคนเรามีปัญญาความรอบรู้แล้ว จะสามารถใช้เป็นประทีปส่องทางไปสู่ความสำเร็จทั้งในด้านหน้าที่การงาน และการดำเนินชีวิตประจำวัน และยังสามารถที่จะพัฒนาจิตใจตนเองให้เข้าถึงความมีอิสรภาพอย่างแท้จริงอีกด้วย กล่าวคือ ทำให้จิตหลุดพ้นจากการครอบงำของกิเลสและความทุกข์ทั้งปวงได้


๑. พระพุทธศาสนาเน้นการพัฒนาศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง


. การพัฒนาศรัทธา

คำว่า ศรัทธา แปลว่า ความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ หมายถึง ความเชื่อในสิ่งที่ดีงามที่มีเหลุผลและผลไม่ใช่เชื่ออย่างงมงายโดยปราศจากการพิจารณาไตร่ตรองด้วยสติปัญญาของตนเอง

ตัวอย่างของความมีศรัทธา คือ ท่านอุลาลีคหบดี ผู้เคยเลื่อมใสนิครนถนาฏบุตร มาก่อน ได้หันมาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาโดยแสดงตนเป็นอุบาสกนับถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งตลอดชีวิตตามที่ปรากฏในอุปาลีวาทสูตร ว่า

พระพุทธองค์ได้ตรัสตักเตือนอุบาลีคฤหบดีให้พิจารณาด้วยสติปัญญาเสียก่อน เพราะเมื่อได้พิจารณาให้รอบคอบแล้ว จึงค่อยลงมือทำเป็นการดีโดยพระพุทธองค์ทรงตักเตือนให้ถวายบิณฑบาตแก่พวกนิครนถ์ที่มาสู่เรือนของตนไปตามปกติ เพราะตระกูลของท่านอุบาลีเป็นตระกูลใหญ่ที่คนรู้จักมากเป็นเสมือนท่าน้ำสำหรับอาบ และดื่มกินของพวกนิครนถ์ทั้งหลายมาช้านานแล้ว

ฝ่ายท่านอุบาลีคฤหบดี เมื่อได้ยินดังนั้น ก็ได้กราบทูลแสดงความเชื่อมั่นและเลื่อมใสในพระพุทธองค์ยิ่งขึ้น เพราะเมื่อก่อนนี้เคยได้ยินจากบุคคลอื่นที่กล่าวว่า พระสมณโคดมได้ชักชวนผู้คนให้ถวายทานแด่พระองค์ และพระสาวกเท่านั้นไม่ควรให้ทานแก่ผู้อื่น เพราะทานที่ถวายแด่พระองค์และพระสาวกเท่านั้นมีผลมากส่วนทานที่ให้แก่ผู้อื่นไม่มีผลเลย แต่ตามความเป็นจริงที่ปรากฏชัดก็ คือ พระพุทธองค์ได้ตรัสสอนให้ทำทานแก่พวกนิครนถ์และคนอื่นๆ ทั่วไปด้วย เพราะทานนั้นย่อมมีอานิสงส์แก่ผู้กระทำเหมือนๆ กัน

จากเรื่องนี้ ย่อมเป็นการแสดงให้เห็นว่าพระพุทธศาสนาได้เปิดกว้างแก่บุคคลทุกชั้นวรรณะ โดยให้อิสรภาพและเสรีภาพในการตัดสินใจ คือ ให้ทุกคนพิจารณาด้วยปัญญาในสิ่งที่ปรากฏอยู่เฉพาะหน้าให้ดีเสียก่อน แล้วจึงค่อยตัดสินใจกระทำลงไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหลักของการพัฒนาศรัทธา คือ ความเชื่อถือในสิ่งใดสิ่งหนึ่งหลักของการพัฒนาศรัทธา คือ ความเชื่อถือในสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้นจะต้องประกอบด้วยเหตุผลและมีสติปัญญาเข้าไปกำกับด้วย

ในหลักของความเชื่อนั้น พระพุทธองค์ทรงแสดงหลักไว้ในเกสปุตตสูตร ซึ่งบางทีเรียกว่า

กาลามสูตร ตามชื่อหมู่บ้านของชาวกาลามชน นับว่าเป็นหลักความเชื่อที่ชาวพุทธทุกคนในยุคปัจจุบันนี้ควรให้ความสนใจศึกษาและนำมาใช้เป็นแนวทางเพื่อตัดสินปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับความเชื่อถือว่าผิดถูกอย่างไร

เมื่อสรุปความในพระพุทธโอวาทที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้แล้ว ผู้ศึกษาก็จะพบว่าพระพุทธองค์ทรงกำหนดหลักเกณฑ์ตัดสินว่าสิ่งใดควรจะเชื่อ สิ่งใดไม่ควรจะเชื่อไหว้ ๓ ประการ

. ทรงให้พิจารณาด้วยสติปัญญาให้เห็นแจ้งประจักษ์ด้วยตนเองก่อน

. ทรงให้อาศัยความเห็นของปราชญ์บัณฑิตเข้าประกอบด้วย

. ทรงให้คำนึงถึงผลของการปฏิบัติว่าจะเกิดคุณหรือโทษ จะให้ความสุขหรือให้ความทุกข์ ถ้าเกิดผลไม่ดีก็ควรละเสีย แต่ถ้าเกิดผลดีก็ควรปฏิบัติต่อไป

อย่างไรก็ตาม พระพุทธศาสนาได้ชื่อว่าเป็นศาสนาแห่งเหตุผล ย่อมสอนให้พุทธศาสนิกชนมิให้เชื่ออะไรง่ายๆ และไม่ให้เชื่ออะไรอย่างงมงาย พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนให้ชาวพุทธรู้จักสร้างสรรค์และพัฒนาศรัทธาที่ถูกต้องให้เกิดขึ้นในตนก่อน เพราะผู้ที่มีศรัทธาที่ได้รับการพัฒนาดีแล้ว ย่อมจะเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ และเชื่ออย่างมีเหตุผล สามารถจะนำไปสู่ความสำเร็จได้ในทุกๆ เรื่อง


ความสามัคคี





ความสามัคคี หมายถึง ความพร้อมเพรียงกัน ความกลมเกลียวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง วิวาทบาดหมางกัน

ความสามัคคี มีด้วยกัน 2 ประการ คือ 1.ความสามัคคีทางกาย ได้แก่ การร่วมแรงร่วมใจกันในการทำงาน 2.ความสามัคคีทางใจ ได้แก่ การร่วมประชุมปรึกษาหารือกันในเมื่อเกิดปัญหาขึ้น

ความสามัคคีดังที่ว่านี้ จะเกิดมีขึ้นได้ ต้องอาศัยเหตุที่เรียกกันว่า สาราณียธรรม ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน กระทำซึ่งความเคารพระหว่างกัน อยู่ร่วมกันในสังคมด้วยดี มีความสุข ความสงบ ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง ทำร้ายทำลายกัน มี 6 ประการ คือ

1.ทำต่อกันด้วยเมตตา คือ แสดงไมตรีและความหวังดีต่อเพื่อนร่วมงาน ร่วมกิจการ ร่วมชุมชน ด้วยการช่วยเหลือธุระต่างๆ โดยเต็มใจ แสดงอาการกิริยาสุภาพ เคารพนับถือกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

2.พูดต่อกันด้วยเมตตา คือ ช่วยบอกสิ่งที่เป็นประโยชน์ สั่งสอนหรือแนะนำตักเตือนกันด้วยความหวังดี กล่าววาจาสุภาพ แสดงความเคารพนับถือกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

3.คิดต่อกันด้วยเมตตา คือ ตั้งจิตปรารถนาดี คิดทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน มองกันในแง่ดี มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสต่อกัน

4.ได้มาแบ่งกันกินใช้ คือ แบ่งปันลาภผลที่ได้มาโดยชอบธรรม แม้เป็นของเล็กน้อย ก็แจกจ่ายให้ได้มีส่วนร่วมใช้สอยบริโภคทั่วกัน

5.ประพฤติให้ดีเหมือนเขา คือ มีความประพฤติสุจริต ดีงาม รักษาระเบียบวินัยของส่วนรวม ไม่ทำตนให้เป็นที่น่ารังเกียจ หรือทำความเสื่อมเสียแก่หมู่คณะ

6.ปรับความเห็นเข้ากันได้ คือ เคารพรับฟังความคิดเห็นกัน มีความเห็นชอบร่วมกัน ตกลงกันได้ในหลักการสำคัญ ยึดถืออุดมคติหลักแห่งความดีงาม หรือจุดหมายอันเดียวกัน

ธรรมทั้ง 6 ประการนี้ เป็นคุณค่าก่อให้เกิดความระลึกถึง ความเคารพนับถือกันและกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน เพื่อป้องกันความทะเลาะ ความวิวาทแก่งแย่งกัน เพื่อความพร้อมเพรียงร่วมมือ ผนึกกำลังกัน เพื่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

อานิสงส์ของความสามัคคีนี้ ท่านกล่าวไว้ว่า เป็นบ่อเกิดแห่งความสุข ความเจริญ เป็นเหตุแห่งความสำเร็จในกิจการงานต่างๆ การงานอันเกินกำลังที่คนๆ เดียวจะทำได้ เช่น การก่อสร้างบ้านเรือน ต้องอาศัยความสามัคคีเป็นที่ตั้ง แมลงปลวกสามารถสร้างจอมปลวกที่ใหญ่โตกว่าตัวหลายเท่าให้สำเร็จได้ ก็อาศัยความสามัคคีกัน เพราะฉะนั้น การรวมใจสามัคคีกันจึงเกิดมีพลัง ส่วนการแตกสามัคคีกันทำให้มีกำลังน้อย

โทษของการแตกสามัคคีกันนั้น ท่านกล่าวไว้ว่า หาความสุข ความเจริญไม่ได้ ไม่มีความสำเร็จด้วยประการทั้งปวง เหตุให้แตกความสามัคคีกันนี้ อาจเกิดจากเหตุเล็กๆ น้อยๆ ก็เป็นได้ เหมือนเรื่องน้ำผึ้งหยดเดียว แต่เป็นเหตุให้เกิดสงครามได้เหมือนกัน ดูตัวอย่างเรื่องพวกเจ้าลิจฉวีในเมืองไพศาลี แคว้นวัชชี มีความสามัคคีกัน พระเจ้าอชาตศัตรูก็ทำอะไรไม่ได้ แต่พอถูกวัสสการพราหมณ์ยุยงให้แตกสามัคคีกันเท่านั้น ก็เป็นเหตุให้พระเจ้าอชาตศัตรู เข้าโจมตีและยึดเมืองเอาไว้ได้ในที่สุด

ดังนั้น ความสามัคคี ถ้าเกิดมีขึ้นในที่ใด ย่อมทำให้ที่นั้นมีแต่ความสงบสุข ความเจริญ ส่วนความแตกสามัคคี ถ้าเกิดมีขึ้นในที่ใด ย่อมทำให้ที่นั้นประสบแต่ความทุกข์ มีแต่ความเสื่อมเสียโดยประการเดียว



ค่านิยมทางสังคม




1.1 ความหมายของค่านิยม
เปลี่ยน ปีคนให้นิยามใหม่ (update) คำว่า “ค่านิยม” มีผู้ให้ความหมายมากมาย อาทิเช่น
ก่อ สวัสดิ์พานิช (2535) ได้กล่าวว่า ค่านิยม เป็นความคิด พฤติกรรมและสิ่งอื่นที่คนในสังคมหนึ่งเห็นว่า มีคุณค่า จึงยอมรับมาปฏิบัติและหวงแหนไว้ระยะหนึ่ง ค่านิยมมักเปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัยและความคิดเห็นของคนในสังคม
พนัส หันนาคินทร์(2537) กล่าวถึงความหมายของค่านิยมไว้ว่า เป็นการยอมรับนับถือและพร้อมที่จะปฏิบัติตามคุณค่าที่คนหรือกลุ่มคนในสังคม มีต่อสิ่งต่างๆ อาจเป็นวัตถุ ความคิดหรือการกระทำในด้านต่างๆ เช่น เศรษฐกิจ สังคม ทั้งนี้ ได้มีการประเมินค่าจากทัศนะต่างๆ โดยรอบคอบแล้ว
Phenix (1992) ให้นิยามว่า “ค่านิยมคือความชอบ ความสามารถจำแนกให้ความเห็นความแตกต่างของความชอบกับกับความไม่ชอบได้โดยการประเมินผล”
Ruch (1992) กล่าวไว้ว่า ค่านิยมเป็นแรงจูงใจอันสำคัญที่มีต่อจุดมุ่งหมายในชีวิตจุดมุ่งหมายใดของชีวิตได้มาแล้วคุ้มค่า เราจะกล่าวว่าจุดมุ่งหมายนั้นมีค่านิยมสูง ถ้าจุดมุ่งหมายใดได้มาแล้วไม่คุ้มค่า จุดมุ่งหายนั้นมีค่านิยมในระดับต่ำ สิ่งใด ที่บุคคลพยายามหลีกเลี่ยง แสดงว่า บุคคลนั้นมีค่านิยมที่ไม่ดีหรือมีค่านิยมในทางลบต่อสิ่งนั้น ค่านิยมจึงมีบทบาทและอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคล
Miller (1995) ได้อธิบายว่า ค่านิยมเป็นเจตคติและความเชื่อที่ฝังลึกในชีวิตของบุคคลและมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลในทุกด้าน จากพฤติกรรมที่เห็นได้ง่าย อาทิเช่น การแต่งกายไปจนถึงพฤติกรรมที่ซับซ้อน อาทิเช่น การแสดงความคิดเห็น การเลือกคู่ครอง ความยุติธรรม เป็นต้น
จากทัศนะต่างๆ เกี่ยวกับความหมายของค่านิยมเมื่อประมวลแล้วสรุปได้ว่า ค่านิยม เป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งในการคงอยู่ของสังคมมนุษย์ ค่านิยมมีบทบาทต่อความคิดและการแสดงออกทางพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม ทำให้สังคมมีความโน้มเอียงไปในทางเดียวกันในสังคมนั้นๆ อันจะเป็นแนวทางที่มนุษย์จะประพฤติตนไปในแนวทางใดแนวทางหนึ่งที่ตัวเองได้พิจารณาไตร่ตรองแล้วว่าเป็นสิ่งที่ดีสำหรับตนหรือสังคมยอมรับนับถือ และปฏิบัติตามแนวคิดนั้นๆ อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยก็ชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่อาจเปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัย และตามความคิดเห็นของมนุษย์ในสังคมนั้น

      1.2 ประเภทของค่านิยม 
นักวิชาการได้แบ่งประเภททางค่านิยมไว้หลายแบบ ในงานวิจัยนี้ได้เลือกการแบ่งประเภทของค่านิยมพึงเสนอไว้ 2 แบบ ดังต่อไปนี้
อดุลย์ วิเชียรเจริญ (2537) ใช้หลักความเปลี่ยนแปลงแบ่งค่านิยมไว้เป็นสองประเภท ได้แก่ ประเภทแรก ค่านิยมหลักซึ่งเป็นค่านิยมที่มีลักษณะเฉพาะของสังคมใดสังคมหนึ่ง ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้ว มีการวางรากลึก ยากที่จะมีการเปลี่ยนแปลง ส่วนอีกประการหนึ่ง ได้แก่ ค่านิยมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของสังคมซึ่งเป็นของที่ไม่คงทน
Phenix (1996) ใช้หลักความสนใจและความปรารถนาของบุคคลแบ่งค่านิยมออกเป็น 6 ประเภท คือ
1. ค่านิยมทางสังคม (Social Values) เป็นค่านิยมที่ช่วยให้เกิดความรักความเข้าใจและ ความต้องการของอารมณ์ของบุคคล 2. ค่านิยมทางวัตถุ (Material Values) เป็นค่านิยมที่ช่วยให้ชีวิตร่างกายของคนเรา สามารถดำรงอยู่ได้ต่อไป ได้แก่ ปัจจัยสี่ คืออาหาร ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า และยารักษาโรค 3. ค่านิยมทางความจริง (Truth Values) เป็นค่านิยมเกี่ยวกับความจริงซึ่งเป็นค่านิยมที่ สำคัญยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการความรู้ และนักวิทยาศาสตร์ที่ต้องการค้นหากฎของธรรมชาติ 4. ค่านิยมทางจริยธรรม (Moral Values) เป็นค่านิยมที่ทำให้เกิดความรับผิดชอบชั่วดี 5. ค่านิยมทางสุนทรียะ (Aesthetic Values) เป็นความซาบซึ้งใจในความดีและความงาม ของสิ่งต่างๆ 6. ค่านิยมทางศาสนา (Religious Values) เป็นค่านิยมที่เกี่ยวกับความปรารถนาความ
สมบูรณ์ของชีวิต รวมทั้งความศรัทธา และการบูชาในทางศาสนาด้วย จากประเภทต่างๆ ของค่านิยมข้างต้น ค่านิยมความรัก คู่ครอง และการแต่งงาน ที่ศึกษาใน การวิจัยครั้งนี้เป็นค่านิยมที่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพทางสังคมวัยรุ่นที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ค่านิยมที่ศึกษาเป็นค่านิยมที่ศึกษาเป็นค่านิยมทางสังคมและทางจริยธรรม

1.3 หน้าที่ของค่านิยม
สุนทรี โคมิน และสนิท สมัครการ (2540) กล่าวถึง หน้าที่ของค่านิยม 7 อย่างไว้ดังนี้
a.ค่านิยมจูง (Lead) เป็นค่านิยมที่ช่วยให้บุคคลได้แสดงจุดยืนของตนในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับสังคมออกมาอย่างชัดเจน b.ค่านิยมเป็นตัวช่วยกำหนด (Predispose) ให้บุคคลนิยมอุดมการณ์ทางการเมืองบางอุดมการณ์มากกว่าอุดมการณ์อื่น c.ค่านิยมเป็นบรรทัดฐานที่ช่วยนำ (Guide) การกระทำให้ทำบุคคลประพฤติ และแสดงตัวต่อผู้อื่นที่ประพฤติเป็นปกติอยู่ทุกวัน d.ค่านิยมเป็นบรรทัดฐานที่ใช้ในการประเมิน (Evaluate) ตัดสินการชื่นชมยกย่อง การตำหนิ ติเตียนตัวเอง และการกระทำของผู้อื่น e.ค่านิยมเป็นจุดกลางของการศึกษา กระบวนการเปรียบเทียบกับผู้อื่น f.ค่านิยมเป็นบรรทัดฐานที่ถูกใช้ในการชักชวน (Persuade) หรือสร้างประสิทธิผลต่อคนอื่น g.ค่านิยมเป็นบรรทัดฐานที่ถูกใช้เป็นฐาน (Base) สำหรับกระบวนการให้เหตุผลต่อความนึกคิด และการกระทำของตน
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (2542) ได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับหน้าที่ของค่านิยมว่า ค่านิยมเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เนื่องจากว่า ค่านิยมที่มนุษย์มีอยู่นั้น ทำหน้าที่มากมายหลายอย่างที่เกี่ยวกับชีวิตของมนุษย์ที่สำคัญคือ
1. ค่านิยมทำหน้าที่เป็นบรรทัดฐาน หรือมาตรฐานของพฤติกรรมทั้งหลายของบุคคลกล่าวคือ ค่านิยมจะเป็นตัวกำหนดการแสดงออกพฤติกรรมของจะทำหรือไม่เราว่า ค่านิยมจะเป็นตัวกำหนดการแสดงออกของพฤติกรรมของเราว่า บุคคลควรจะทำหรือไม่ควรจะทำสิ่งใด ค่านิยมจะช่วยกำหนดจุดยืนในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและค่านิยมจะทำหน้าที่ประเมินการปฏิบัติการต่างๆ ทั้งของตัวบุคคลเอง และของคนอื่น
2. ค่านิยมทำหน้าที่เป็นแบบแผนในการตัดสินใจ และการแก้ไขข้อขัดแย้งต่างๆ ในบางกรณีบุคคลต้องเจอกับสถานการณ์บางอย่างที่ขัดแย้งกัน ทำให้เขาต้องเลือกทางใดทางหนึ่ง เช่น การปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาอย่างเคร่งครัด กับความเป็นตัวของตัวเอง หรือรักษาความเป็นอิสระของตัวเอง การปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตแต่ยากจน กับการปฏิบัติงานในที่ไม่สุจริต แต่ทำให้ร่ำรวย บุคคลจะเลือกเดินทางไหนนั้นค่านิยมมีอยู่จะช่วยกำหนดทางเลือกให้เขา
3. ค่านิยมทำหน้าที่เป็นแรงจูงใจ หรือผลักดันของบุคคล เช่น บุคคลที่มีความนิยมชมชอบในการมีอายุยาวนาน หรือสุขภาพดี ก็จะมีแรงผลักดันให้อยากออกกำลังกายอยู่เสมอ ตลอดจนมีความรอบคอบในการ บริโภคอาหาร บุคคล ที่มีความนิยมเกี่ยวกับวัตถุนิยมสูง ก็จะมีความขยันขัยแข็ง และเพียรพยายามในการทำงานเพื่อให้ได้มาทำงาน เพื่อเงินทองและสิ่งของที่พึงปรารถนา ค่านิยมจะทำหน้าที่เป็นเกณฑ์ หรือมาตรฐาน ในการแสดงออกของพฤติกรรม ช่วยตัดสินใจในกรณีที่บุคคลได้พบกับสถานการณ์บางอย่างที่ขัดแย้งกัน และต้องเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งและค่านิยมยังช่วยเสริมสร้างแรงจูงใจความสนใจ และความตั้งใจที่จะนำไปสู้การแสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกับค่านิยมที่ตัวเองยึด
1.4 ธรรมชาติและกระบวนการเกิดค่านิยม Rokeach (2001) อธิบายไว้ว่า แนวคิดและค่านิยมของกรอบทฤษฎีนั้น ตั้งอยู่บนบนฐานที่เกี่ยวกับธรรมชาติแห่งค่านิยมของมนุษย์ 5 ประการ ดังนี้ 1.จำนวนของค่านิยมแต่ละคนมีไม่มากนัก และอยู่ในข่ายที่จะนับและศึกษาได้ 2.ความแตกต่างของค่านิยมจะแสดงออกในทางระดับ (Degree) 3.ค่านิยมต่างๆ จะสามารถจัดรวมกันได้ เป็นระบบค่านิยม (Values system) 4.ค่านิยมของมนุษย์สามารถสืบไปจนถึงพฤติกรรมของมนุษย์ในเกือบทุกรูปแบบที่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ 5.ค่านิยมของมนุษย์จะแสดงออกทางเจตคติและพฤติกรรมของมนุษย์ในเกือบทุกรูปแบบที่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้

ในเรื่องของกระบวนการเกิดค่านิยม สายสุนีย์ อุดมนา (2543) ได้กล่าวถึงกระบวนการเกิดค่านิยม มี 5 ลำดับ คือ
1.ความรู้สึก จากสิ่งที่ตนกระทำอยู่ หรือเคยมีประสบการณ์มาก่อน 2.ความคิดเห็น แบ่งได้หลายประเภท ได้แก่ เป็นความคิดเห็นอย่างระดับ แบ่งเป็น 7 ระดับ คือ ระดับความจำ การแปลความ การประยุกต์ การตีความ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินผล แยกเป็นความคิดเห็นแบบวิพากษ์ วิจารณ์ ซึ่งแยกแยะข้อเท็จจริงจากความคิดเห็นส่วนตัวที่มีอคติ แยกเอาการเลือกที่รักมักที่ชัง และข้อขัดแย้งจากสิ่งที่เป็นสัจจะหรือข้อเท็จจริง รวมทั้งการวิพากษ์ วิจารณ์ การโฆษณาชวนเชื่อ และพฤติกรรมที่ตามมา เป็นต้น เป็นความคิดเห็นตามหลักตรรกวิทยา ความคิดแบบสร้างสรรค์ ความคิดจากพระพุทธศาสนา อาทิเช่น การใช้ภาษา การคำนวณและการวิจัย 3.การติดต่อสื่อสารและถ่ายทอด สามารถทำได้ทั้งคำพูดหรือทางอื่น อาทิเช่น การเขียน การฟัง การวาดรูป เป็นต้น 4.การเลือกเชื่อและเกิดศรัทธา เป็นการพิจารณาเพื่อหาข้อสรุปจากทางเลือกต่างๆ มีการพิจารณาสิ่งที่เกี่ยวข้องทั้งที่ชอบและไม่ชอบ ทำให้ตนเลือกเชื่อและเกิดศรัทธาในการพึ่งพาตนเองว่า เป็นสิ่งที่ดีและยึดมั่นไว้ในใจ 5.การปฏิบัติ เป็นขั้นตอนที่ทำตามซ้ำกับที่เคยทำมา หรือจากที่เลือกใหม่ ในขั้นนี้ จะเกิดความเชื่อและมีศรัทธาในพฤติกรรม พยายามที่จะปฏิบัติ เป็นพฤติกรรมที่สามารถเห็นได้






สิทธิมนุษยชน

  สิทธิมนุษยชน
ความหมายของสิทธิมนุษยชน

       สิทธิมนุษยชนหมายถึง ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคที่ต้องได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ เป็นมาตรฐานขั้นต่าที่พึงมี เป็นสิ่งจาเป็นในการดารงชีวิตของมนุษย์อย่างมีศักดิ์ศรีและมีคุณค่า เป็นสิทธิที่ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศโดยไม่คานึงถึงความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ สีผิว เพศ อายุ ภาษา ศาสนา สถานภาพทางกายและสุขภาพ รวมทั้งความเชื่อทางการเมืองหรือความเชื่ออื่น ๆ ที่ขึ้นกับพื้นฐานทางสังคม สิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่ไม่สามารถถ่ายทอดหรือโอนให้แก่ผู้อื่นได้ หากมีการล่วงละเมิดต่อสิทธิมนุษยชนย่อมจะได้รับการรับรองและคุ้มครองจากกฎหมาย เช่น สิทธิในชีวิตร่างกาย และความมั่นคงปลอดภัย สิทธิในการถือครองทรัพย์สิน ตลอดจนสิทธิในการเคลื่อนไหวและในการเลือกถิ่นที่อยู่อาศัย เป็นต้น นอกจากนี้สิทธิมนุษยชนยังหมายถึง สิทธิที่พึงมีเพื่อการพัฒนาบุคลิกภาพ คุณภาพชีวิต เพื่อธารงรักษาไว้ซึ่งคุณค่าของความเป็นมนุษย์ เช่น สิทธิในการเลือกนับถือศาสนา สิทธิในการเลือกที่จะประกอบอาชีพ สิทธิในการแสดงความคิดเห็น ตลอดจนสิทธิในการมีส่วนร่วมในทางการเมือง เป็นต้น สิทธิมนุษยชนจึงประกอบไปด้วยสิทธิต่าง ๆ ครอบคลุม126

วิถีชีวิตของมนุษย์ทุกคนตั้งแต่เกิดจนตาย สิทธิที่ต้องการคุ้มครอง คือ การคุ้มครองบุคคลมีสิทธิในการดารงชีวิต ในเสรีภาพและในความมั่นคงแห่งร่างกาย


คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

         คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นองค์กรอิสระที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย เกิดจากแรงผลักดันและความเรียกร้องของประชาชน ที่มุ่งหวังให้มีกลไกอิสระทาหน้าที่ส่งเสริม คุ้มครองและพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของประชาชนให้มีผลปรากฏตามที่มีการบัญญัติรับรองสิทธิ เสรีภาพไว้ การร่างกฎหมายที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับประชาชนนั้น ต้องมีการทาประชาพิจารณ์ทั่วประเทศ ในขณะที่ภาคประชาชนก็ตื่นตัวมีส่วนร่วมจัดเวทีศึกษาแลกเปลี่ยนบทเรียนกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

ความสำคัญของสิทธิมนุษยชน

 สำหรับสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยนั้น ได้มีการบัญญัติกฎหมายว่าด้วยสิทธิมนุษยชนขึ้นมาใช้เพื่อปกป้อง คุ้มครอง สิทธิของพลเมืองภายใต้กระแสของความเจริญทางเศรษฐกิจ และสังคมเพื่อมิให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งถูกละเมิด โดยกาหนดให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีอานาจหน้าที่ในการตรวจสอบ และรายงานการกระทาอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนพร้อมกับแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม ในขณะเดียวกันต้องส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ส่งเสริมการศึกษา วิจัยและเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน

สิทธิมนุษยชนมีความสาคัญในฐานะที่เป็นหลักในการวางระบบความคิดให้ประชาชนรู้และตระหนักถึงคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ยอมรับความเป็นมนุษย์ ศักดิ์ศรี ชาติกาเนิด สิทธิขั้นพื้นฐานของการดารงชีพตั้งแต่เกิดจนตาย สิทธิมนุษยชนเป็นหลักประกันความเป็นมนุษย์ในเรื่องสิทธิ เสรีภาพ 127
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้ได้ผลอย่างเต็มที่ ต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชนทุกคน โดยการปฏิบัติต่อกันอย่างมีมนุษยธรรม หมายถึง การให้ความเคารพในเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ การดารงชีวิตร่วมกันอย่างสมานฉันท์ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ดังนั้น สิทธิมนุษยชนจึงประกอบด้วยสิทธิในการดารงชีวิตที่ดีในสังคม ดังนี้

1. สิทธิในชีวิต เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลทั่วไปที่สามารถดารงชีวิตอยู่ได้ ได้รับ
การตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน เช่น ความจาเป็นในปัจจัย 4 ได้แก่ อาหาร ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย และเครื่องนุ่งห่ม และต้องได้รับความคุ้มครองในสิทธิส่วนบุคคล เช่น การให้ความช่วยเหลือเมื่อชราเพื่อให้สามารถดารงชีพได้อย่างปกติ หรือการให้ความช่วยเหลือเป็นพิเศษสาหรับผู้พิการ คนชรา บุคคลไร้ที่อยู่ วิกลจริต เป็นต้น เพื่อให้ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน
2. สิทธิในการดาเนินชีวิตและพัฒนาตนเองตามแนวทางที่ถูกต้อง รัฐต้องเปิดโอกาส
กับทุกคนที่มีความประสงค์จะพัฒนาตนเองในแนวทางที่ถูกต้อง เช่น การพัฒนาตนเองให้มีการศึกษาตามฐานะอันควร การพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง รวมทั้งต้องให้โอกาสแก่บุคคลบางกลุ่มที่เคยกระทาผิดเพื่อที่จะได้อบรมแก้ไขให้ชีวิตมีคุณภาพที่สูงขึ้น 128
3. สิทธิในการยอมรับนับถือ หมายถึง การที่บุคคลได้ปฏิบัติต่อกันด้วยการยอมรับ
นับถือในเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ซึ่งกันและกัน และตระหนักว่าชีวิตมนุษย์ทุกคนมีความเสมอภาค โดยไม่คานึงถึงฐานะทางเศรษฐกิจ สภาพสังคม การศึกษา ตาแหน่งหน้าที่การงาน เพียงคานึงว่าทุกคนต่างมีคุณค่าของการเป็นมนุษย์ทั้งสิ้น เมื่อได้มาอยู่ร่วมกันในสังคมก็จะได้รับการยอมรับซึ่งกันและกันทั้งในด้านการแสดงความคิดเห็น การร่วมมือพัฒนาท้องถิ่น การทาประชาพิจารณ์ ฯลฯ โดยต้องไม่มีการเลือกปฏิบัติ

สิทธิมนุษยชน : ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หมายถึง เกียรติภูมิที่ทุกคนมีเพราะเกิดมาเป็นมนุษย์ ทุกคนต้องเคารพกันและกัน ห้ามดูหมิ่น ลบหลู่ ทาให้เสื่อมเสียความเป็นมนุษย์ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นสิทธิอย่างหนึ่งที่รับรองคุ้มครองให้แก่บุคคลตามกฎหมาย 129ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หมายถึง สภาพความเป็นคน โดยไม่คานึงถึงความแตกต่างเรื่องถิ่นกาเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สถานภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมือง การที่ผู้ใดไม่ได้รับ หรือทาให้ผู้ใดไม่มีสิทธิและเสรีภาพที่พึงมีพึงได้ เช่น การทาร้าย กักขัง ทรมาน การซื้อขาย หรือการไม่ได้รับปัจจัยที่จาเป็นขั้นพื้นฐานในชีวิต เช่น การทางาน อาหาร ที่อยู่อาศัย การดูแลสุขภาพ การศึกษา วัฒนธรรม ถือว่าเป็นการทาลายสภาพความเป็นคน หรือทาลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ในส่วนของรัฐธรรมนูญต่างประเทศก็ได้บัญญัติเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไว้เช่นกัน 130
การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ย่อมต้องมีการคุ้มครองภายในขอบเขต หากมีการล้าขอบเขตแห่งการคุ้มครองจึงจะเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ดังนั้น การอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จึงอ้างได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ของบุคคลหนึ่งย่อมมีขอบเขตอยู่ที่ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลอื่น 131

หลักการพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน

1. หลักเสรีภาพ ได้แก่เสรีภาพในความเป็นส่วนตัว สามารถที่จะดาเนินชีวิตได้อย่างอิสระจากกลุ่มบุคคล สมาคมหรือองค์กรอื่นใด เสรีภาพในร่างกาย หมายถึงบุคคลใดที่ถูกจับกุม คุมขังหรือถูกลงโทษย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย เสรีภาพในทางการเมือง หมายถึง บุคคลย่อมมีอิสระที่จะแสดงความคิดเห็นทางการเมืองและมีส่วนร่วมทางการเมืองได้อย่างอิสระ เสรีภาพในการนับถือศาสนา บุคคลจะเลือกนับถือศาสนาใดก็ได้ตามความสมัครใจ
2. หลักความเสมอภาค เป็นความเสมอภาคหรือความเท่าเทียมกันในความเป็นมนุษย์ ได้แก่
2.1 ความเสมอภาคตามกฎหมาย เช่น การมีส่วนร่วมในการทาประชาพิจารณากฎหมาย ความเท่าเทียมกันในการบังคับใช้กฎหมาย ความเท่าเทียมกันในการได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย เป็นต้น
2.2 ความเสมอภาคทางสังคม เช่น การได้รับความเคารพนับถือจากเพื่อนมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน เป็นต้น
2.3 ความเสมอภาคในการทางาน เช่น ความเท่าเทียมกันในการได้รับการปฏิบัติจากรัฐ ความเสมอภาคด้านแรงงาน การได้รับการเลื่อนขั้นเลื่อนตาแหน่ง เป็นต้น
2.4 ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ เช่น การเสียภาษีอย่างเป็นธรรม การดาเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรม เป็นต้น
3. หลักภราดรภาพ ได้แก่ การอยู่ร่วมกันกับบุคคลอื่นอย่างสันติสุขฉันพี่น้อง ในสังคม มีการช่วยเหลือเกื้อกูลโดยไม่มีการแบ่งแยกชนชั้น เชื้อชาติ ศาสนา เพศ วัยและทุกคนมีความรับผิดชอบร่วมกัน
4. หลักความยุติธรรม ได้แก่การมีความยุติธรรมที่บุคคลในสังคมพึงได้รับเท่าเทียมกันทุกคนจากการปฏิบัติต่อกันจากเพื่อนมนุษย์ จากเจ้าหน้าที่ของรัฐ จากกฎหมายหรือบุคคลอื่นใด เพราะความยุติธรรมเป็นเครื่องอานวยความสะดวกในการที่จะให้บุคคลพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดังนั้น สิทธิมนุษยชนจึงมีความสาคัญต่อการดารงชีวิตร่วมกับผู้อื่นบนพื้นฐานของหลักเสรีภาพ หลักความเสมอภาค หลักภราดรภาพและหลักยุติธรรม